top of page

Rethinking People Strategies for a Post COVID-19 Business Recovery

อัปเดตเมื่อ 6 มิ.ย. 2565

Kincentric Webinar | Employee eXperience Series EP2 | 12 พฤษภาคม 2563


ในสภาวะที่คนไทยทั้งประเทศกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19


ทำให้ภาคธุรกิจต้องมุ่งเน้นในการออกนโยบายและสื่อสารกับพนักงาน ซึ่งประเด็นที่สำคัญก็คือ หลังจากนี้องค์กรควรปรับตัวอย่างไรภายหลังจากที่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นและภาครัฐเริ่มปลดล็อคมาตราการ Lock Down ดังนั้นการตระหนักถึงประสบการณ์ทำงานของพนักงาน หรือ Employee Experience ในทุกช่วงเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรสามารถสนับสนุนให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เราได้เชิญคุณ Audrey Widjaja, Market Leader & Partner จากคินเซนทริค ประเทศจีน และคุณ Ornpawee Karnchanomai, Practice Leader จากคินเซนทริค ประเทศไทย มาแบ่งปันถึงวิธีการที่องค์กรภายในประเทศจีนได้ใช้ ทั้งในระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 มาร่วมเรียนรู้ “อนาคต” ของไทย จาก “ปัจจุบัน” ของจีนด้วยกัน


นอกจากนี้ เรายังได้รับเกียรติจากดร. Luis Danai Kristhanin, Assistant Chief Executive Officer บริษัท CPALL และคุณ ChantraThongiead, Group Director of Talent Development and Culture โรงแรม The Siam ที่จะมาพูดถึง New Normal ของภาคธุรกิจ และเรื่องที่ HR ต้องทำในสถาวะวิกฤติในครั้งนี้ โดยมีดร. Adisak Chandprapalert จากคินเซนทริค ประเทศไทยมาร่วมพูดคุยด้วย


สถานการณ์ปัจจุบันในสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นอย่างไรบ้าง?

Audrey: ตอนนี้อาจเรียกได้ว่ากำลังค่อยๆ ฟื้นตัวจากวิกฤต COVID -19 อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังคงต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ และคงตอบได้ยากว่าเราจะกลับคืนสู่ภาวะ “ปกติ” ได้เมื่อไร


ถ้าฉายภาพไปที่สถานการณ์เศรษฐกิจ เราจะพบว่าองค์กรส่วนใหญ่ประมาณ 80% ได้กลับมาดำเนินการตามปกติแล้ว ส่วนร้านค้าทั่วไป ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ Disneyland Shanghai ก็เริ่มเปิดทำการแล้วเช่นกัน


สัญญานหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดคือกลุ่ม Luxury Brand ที่เริ่มกลับมาทำโปรโมชันอย่างคึกคัก ซึ่งบ่งบอกว่าเศรษฐกิจอาจเริ่มที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้กลุ่ม Hospitality(อุตสาหกรรมด้านงานบริการ)

ก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น สังเกตได้จากการที่คนเริ่มมีการจองตั๋ว จองที่พัก หรือเครื่องบินที่เริ่มมีผู้โดยสารมากขึ้น


ในมุมมองของ Audrey คิดว่า อะไรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดท่ามกลางภาวะวิกฤตแบบนี้ องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรบ้าง?

Audrey: เราอาจจะพอแบ่งออกเป็นสามมุมมองหลักด้วยกัน ได้แก่ มุมมองของผู้บริหารระดับสูง (Top Management) ทีม HR และพนักงาน

ในฐานะผู้บริหารระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นผู้นำองค์กร ผู้บริหาร หรือผู้จัดการ ล้วนต้องให้ความชัดเจนกับพนักงานได้ แม้ว่าโลกภายนอกจะวุ่นวายเพียงใดก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงต้องหมั่นสื่อสารและ ‘Engage’ พนักงานอย่างสม่ำเสมอ โดยเราพบว่าองค์กรที่มีการสื่อสารกับพนักงานด้วยความถี่ที่เหมาะสม มีความชัดเจน และโปร่งใส มีแนวโน้มที่จะรับมือกับสถานการณ์วิกฤตได้ดีกว่าองค์กรอื่นๆ


นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงยังต้องมีความ ‘คล่องตัว’ โดยเฉพาะในแง่ของการตัดสินใจท่ามกลางภาวะวิกฤต ยกตัวอย่างเช่น การตัดสินใจใช้นโยบาย Work from Home การบริหารจัดการพนักงานโรงงาน การรับมือกับเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัย ฯลฯ ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างแม่นยำฉับไว และบริหารจัดการได้อย่างทันท่วงที


พนักงานเองในช่วงนี้อาจจะมีความวิตกกังวลอยู่บ้าง โดยเฉพาะในแง่ของความมั่นคงในอาชีพการทำงาน (Job Security) คำถามที่อาจเกิดขึ้นในใจพนักงานบ่อยๆ คือ ฉันจะถูกไล่ออกไหม ฉันจะมีเงินพอเลี้ยงตัวเองและครอบครัวไหม ช่วงนี้จะเห็นได้ว่าธุรกิจ Hospitality เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ก็มีการปรับตัว แม้ร้านจะไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ แต่ผู้คนก็มีความต้องการสั่งอาหารแบบ Delivery มากขึ้น ร้านเหล่านี้จึงได้จัดสรรทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ โดยให้พนักงานไปทำงานในส่วนของ Delivery เป็นหลัก นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้าง ‘Alignment’ ระหว่างความต้องการของลูกค้า กับความพยายามขององค์กรที่จะรักษาพนักงานเอาไว้ จนกว่าสถานการณ์จะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ


Download Document


ดู 63 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page