สราวุธ พันธุชงค์ | วารสารการบริหารฅน 4/2562
ความหมายของข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ และปัญญา ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (facts) หรือ เหตุการณ์ (events) ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่เป็นอยู่เองแล้วตามปกติและได้รับการตรวจพบและบันทึกหรือเก็บรวบรวมไว้ใช้ประโยชน์ หากข้อเท็จจริง หรือปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์เหล่านั้นไม่มีผู้ใดได้พบเห็นได้มีการบันทึกรวบรวมไว้ด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม ความเป็นข้อมูลก็ไม่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 มีผู้ป่วยตลอดปี 2562 ทั้งสิ้น 20,000 คน มีรถวิ่งกี่เที่ยว ลมพัดด้วยความเร็วเท่าใด เวลาใด อุณหภูมิแต่ละวันสูง ต่ำ เพียงใด ซึ่งที่ตรวจพบและบันทึกไว้นี้เรียกว่าข้อมูล
สารสนเทศ (information) คือ สภาพของข้อมูลที่สูงนำเสนอหรือเปิดเผยเพื่อใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง สารสนเทศจึงเป็นข้อมูลที่ถูกจัดกระทำ (manage) แล้ว ผ่านการวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางสถิติ และมักจะอยู่รูปของการบันทึกในวัสดุต่าง ๆ ด้วยรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ มากมาย เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกัน และนำมาผสมผสานกันได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องตรวจนับผู้เข้าใช้บริการของห้องสมุดแห่งหนึ่งบันทึกจำนวน ผู้เข้ามาใช้บริการห้องสมุดทุกครั้งที่มีคนเข้าออก สถิติหรือจำนวนที่ถูกบันทึกไว้นั้นเรียกว่าข้อมูล หรือข้อมูลดิบ (raw data) เมื่อครบระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน หรือ 1 ปี มีผู้มาตรวจนับสถิติผู้เข้าใช้ห้องสมุดนี้แล้วนำไปเปิดเผยต่อสาธารณะ ว่าในรอบสัปดาห์ หรือรอบเดือน หรือรอบปี ที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการห้องสมุดกี่คน ข้อมูลที่ถูกรวบรวม วิเคราะห์ แยกเป็นรอบสัปดาห์ หรือรอบเดือน หรือรอบปี แล้วถูกรายงานที่เรียกว่าข้อมูลจัดกระทำ (managed data) หรือสารสนเทศ (information)
ความรู้ (knowledge) คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้ง ความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมา และองค์ความรู้ หลังจากคนได้รับรู้หรือ มีประสบการณ์กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว เป็นความตระหนักว่าสิ่งที่ได้รับรู้หรือสัมผัสหรือ มีประสบการณ์มานั้นเป็นอย่างไร
ปัญญา (wisdom) เป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดทางจิตใจของมนุษย์หรือสัตว์โลก เป็นสภาวะที่เกิดในตัวคนหลังจากคนได้ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ การฝึกฝนมาอย่างมากมายแล้วคล้าย ๆ เป็นภาวะตกผลึกของความรู้ ความเข้าใจผิดได้ถูกกำจัดออกไป
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญาความสัมพันธ์ทั้ง 4 อย่างของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา ดังได้กล่าวมาแล้วมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาก ข้อมูล คือข้อเท็จจริง ข้อมูลดิบ หรือตัวเลขที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ตีความหมาย หรือแปลความใด ๆ เมื่อรวบรวมข้อมูลมาได้มาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลผลทำให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นแล้วจะกลายเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไป ใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจในช่วงเวลาที่จำกัดและในขอบข่ายของงาน สูงขึ้นไปจะเป็นความรู้ คือ กระบวนการทำความเข้าใจสารสนเทศด้วยการเปรียบเทียบเชื่อมโยงให้เห็นความ สัมพันธ์ของสารสนเทศจนสามารถนำไปสู่ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ โดยสารสนเทศนั้นโดยไม่จำกัดช่วงเวลา และปัญญา คือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน เกิดจากการสั่งสมข้อมูล สารสนเทศ และความรู้จนกลายเป็นทักษะความชำนาญและความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์
สำหรับหลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า Big Data ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในธุรกิจในยุคนี้ ซึ่งก็ยังคงมีคำถามสำหรับคำ ๆ นี้ว่า Big Data มันคืออะไร แล้วต้องใหญ่แค่ไหนเชียวถึงจะเรียกได้ว่าเป็น Big Data จริง ๆแล้ว Big Data ก็คือข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือข้อมูลภายนอก เป็นข้อมูลเชิงลึกคือข้อมูลที่ละเอียดมาก ไปจนถึงข้อมูลเชิงกว้างคือข้อมูลที่มีความหลากหลาย แต่ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน ประเภทอะไร ก็ถือว่าเป็น Big Data ทั้งหมด ลักษณะของ Big Data หลักๆที่สังเกตได้คือ
Volume เป็นข้อมูลที่มาอยู่รวมกันจำนวนมหาศาล
Variety เป็นข้อมูลที่มีหลากหลายประเภทจากหลายแหล่งที่มา
Velocity เป็นข้อมูลที่มีการหลั่งไหลมาอย่างรวดเร็ว
Veracity เป็นข้อมูลที่ยังไม่สามารถนำมาใช้ในการประกอบการพิจารณาได้
จากที่กล่าวมา Big Data ก็เหมือนแหล่งรวมข้อมูลทุก ๆอย่างในองค์กร ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่สามารถนำมาใช้งานได้ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้ ดังนั้นก่อนเราจะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ก็จะต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ๆ เราจะเรียกการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ว่า Big Data Analytics
Big Data Analytics คือ การนำข้อมูลที่เตรียมไว้มาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหาเพื่อคาดการณ์สถานการณ์หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาที่เราตั้งเอาไว้ Big Data Analytics มีความสำคัญมากในยุคนี้ เพราะเทคโนโลยีในๆทุกวันนี้เกิดขึ้นไวแบบก้าวกระโดด กิจกรรมในโลกออนไลน์มีอัตราสูงขึ้นมาก การที่เราสามารถเข้าใจข้อมูลที่เข้ามาและมีการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ ถือเป็นความได้เปรียบที่เราสามารถจะปรับปรุงกระบวนการทำงาน แก้ไขปัญหา และเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจได้อีกด้วย สิ่งที่สำคัญของการทำ Big Data Analytics ก็คือ การตั้งโจทย์ให้เหมาะสม แล้วนำ Big Data Analytics ไปตอบโจทย์นั้น ๆนั่นเอง
สรุปจากจากสมการ KM=CM2+MIS หมายถึง CM1 = Change Management CM2 = Contents Management และ MIS = Management Information System ความหมายก็คือการจัดการความรู้ก็คือการจัดการสารสนเทศนั่นเองเพราะสารสนเทศเป็นความรู้ประเภทหนึ่ง การทำ Big Data Analytics จึงเป็นต้นทางของการจัดการความรู้ เพื่อนำความรู้นั้นไปปรับปรุงกระบวนการทำงาน แก้ไขปัญหา และสร้างนวัตกรรมในองค์กรนั่นเอง
Commentaires