top of page
  • รูปภาพนักเขียนworkday

Reskill, Rebuild and Reinvent for the Future of Work

Free Seminar PMAT x Workday | วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2022, 10.00-12.00 น.

Key point

1. แนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถและส่งเสริมการเรียนรู้ให้พนักงานในช่วงวิกฤติ COVID

2. ความท้าทาย ภาพอนาคตอันใกล้ของการดำเนินธุรกิจ และการเตรียมคนให้พร้อมสำหรับอนาคต

3. แบ่งบันบทเรียน การเตรียมคนในองค์กรพร้อมรับกับ Future of work


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดร.ปรง ธาระวานิช

1. เราจะพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้พนักงานได้อย่างไร ท่ามกลางสถานการณ์โควิด

โควิดเป็นตัวเร่งการพัฒนาคนให้เร็วขึ้น AIS เตรียมความพร้อมเรื่องคนมาล่วงหน้า 7 ปี จากการก่อตั้ง AIS Academy เป็นความโชคดีที่ทำก่อน เพราะบริษัทมีพนักงานทั่วประเทศ 1.3 หมื่นคน ทำอย่างไรให้ความรู้เข้าถึงพนักงานมากที่สุด ตัวอย่างเช่น หลักสูตร 5G ถ้าจัดให้เรียนในห้อง 2 ปีก็ไม่จบ กลายเป็นโจทย์ว่า ทำอย่างไรให้คนเข้าถึงความรู้เร็วที่สุด ถูกต้องที่สุด ในเวลาที่ต้องการ ไม่อย่างนั้นเรียนไปก็ลืมแน่ๆ ใน 1 อาทิตย์ ถ้าไม่ได้ใช้


AIS ทำ learning platform ชื่อ learndi (อ่านว่า เลิร์น-ดิ๊ ภาษาพูดวัยรุ่น) ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ และทำห้องสมุดดิจิทัล ในภาษาเดิมคือ KM (Knowledge Management) เพื่อให้แน่ใจได้ว่า การเรียนรู้ของพนักงาน AIS ไม่มีที่สิ้นสุด


2. การวางแผนสร้าง skill ใหม่ๆ ตอบโจทย์ธุรกิจอย่างไร

จาก 4G ไป 5G คือการ connect everything ทักษะอะไรที่เราต้องเตรียมให้คน AIS มอง 3 ตัวคือ ทักษะ, คอนเทนต์ และเทคโนโลยี


ทักษะ แบ่งเป็น 2 ชุดคือ tech firm skill กับ essential skill


tech firm skill ได้แก่ cloud computing, cyber tech, … เป็นการติดอาวุธฝั่งเทคโนโลยี เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรู้ แต่แตกต่างกันในระดับความรู้


essential skill คือ ทักษะติดตัว อยู่รอดตลอดไป ในขณะที่ทักษะทางด้านเทคโนโลยี มาแล้วก็ไป แต่ทักษะที่จำเป็น อยู่ยาวไป AIS มองหาว่าอะไรคือทักษะที่จำเป็น ที่ทำให้ทั้งคนและองค์กรอยู่รอดปลอดภัย จึงได้ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยเรื่องทักษะที่จำเป็น และเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย สามารถสรุปทักษะหลักๆ ได้คือ

- network

- creativity

- problem solving

- digital literacy

เหตุผลที่ AIS ให้ความสำคัญกับ essential skill เพราะมีความสำคัญมากถึง 70% อีกเหตุผลหนึ่งคือ นับวัน AIS จะเป็นองค์กรมีอายุ คนสูงวัยเพิ่มขึ้น จะทำอย่างไรให้คนได้ไปต่อ ในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดเวลาให้ได้ ไม่ตกรุ่น รวมถึงให้ความสำคัญกับทักษะ innovation โดยออกแบบโครงการ internal startup ส่งเสริมการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ที่มีอยู่ราว 9,000 คน

  • คอนเทนต์ AIS ออกแบบ content nano ให้สั้นกระชับ เข้าประเด็นแบบ tictok ส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคล เรียกว่า small private online course และมีโปรแกรมตรวจสอบว่าพนักงานได้ผ่านการเรียนรู้นั้นๆ แล้วจริง

  • เทคโนโลยี การเรียนรู้จากเทคโนโลยี เปลี่ยนรูปแบบไปได้เรื่อยๆ เราสามารถเรียนรู้จากคน จากวิดีโอ และจาก metaverse ก็ได้ เทคโนโลยีทำได้เกือบทุกอย่างในยุคนี้


3. ประสบการณ์การเรียนรู้ บทเรียนจากความผิดพลาด

หลายครั้งของการเรียนรู้ บางทีเราคิดว่ามันใช่ แต่มันไม่ใช่ การทำให้คนเก่งขึ้นมี 3 อย่างคือ

1. mindset 70%

2. skill set 20%

3. tool set 10%


กับดักของการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความล้มเหลวคือ การที่ทีมหันไปเน้น tool set เป็นสรณะ ทั้งๆ ที่หลักความเป็นจริง ถ้าพนักงานไม่รับผิดชอบการติดอาวุธทางปัญญาให้ตรงเป้า บริษัทก็ไม่สามารถฝากผีฝากไข้กับพนักงานคนนั้นได้ และมีแต่การเรียนรู้เท่านั้น ที่จะทำให้คนเราตัดสินใจได้เฉียบขึ้น


บริษัทมองว่า best practice ไม่มีจริง เพราะบริบทแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน ต้อง crack the code ให้ได้ว่าเป็นยังไง จะได้รู้ว่า base line ของเราอยู่ตรงไหน เบอร์อะไร


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คุณนพชัย นุตสติ

1. เราจะพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้พนักงานได้อย่างไร ท่ามกลางสถานการณ์โควิด

สิ่งที่บางจากทำ คือการพัฒนาทักษะ การเตรียมความพร้อม การวางรากฐานโครงการ work anywhere any time ทุกสิ่งที่เราทำคือการมองไปข้างหน้า ท่ามกลางความท้าทายที่รออยู่ หนึ่งในความท้าทายของบางจาก นอกจากโควิดแล้ว คือรถไฟฟ้า EV car โจทย์ของเราก็คือ จะเปลี่ยนผ่านไปได้ไง ให้ธุรกิจเก่าไปได้ ธุรกิจใหม่ไปรอด


การพัฒนาทักษะการทำงาน เราเตรียมช่องทางให้พนักงาน ทำงานที่ไหนก็ได้ เบนเข็มการเรียนรู้จากห้องเรียน มาเป็นออนไลน์ ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ โดยตั้งธงว่าเป็นบันไดของการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ผู้จัดการดีๆ 1 คน มีผลต่อคนทำงาน 6-7 คน เพราะฉะนั้นหน้าที่ของ HR บางจาก เราต้องเตรียมผู้จัดการที่ดี


ช่วงโควิด HR เราทำงานกันหนักมาก แต่ก็ยังสนุกกับงาน และเชื่อมโยงกับพนักงานมากขึ้น


2. การวางแผนสร้าง skill ใหม่ๆ ตอบโจทย์ธุรกิจอย่างไร

บางจากมีความท้าทายเข้ามาเยอะมากในช่วงโควิด ได้รู้ว่าอะไรโอเค อะไรไม่โอเค สิ่งที่เราเติมให้พนักงานคือ growth mindset ต้องอยู่รอดให้ได้ รูปแบบการทำงาน ไม่จำเป็นต้องมีสังกัด ชีวิตของพนักงานต่อไปนี้รวมตัวกับใครก็สามารถสร้างทีมได้ ช่วงนี้บางจากปรับโครงสร้างองค์กรอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานใหม่หมด เป็นวิศวะไม่ใช่กลั่นน้ำมันเป็นอย่างเดียว ต้องทำการตลาดเป็นด้วย หาลูกค้าได้ด้วย เป็นวิศวะต้องมีทักษะการเจรจาต่อรอง มี design thinking คำนึงถึงลูกค้า ต่อไปนี้ทุกคนต้องช่วยกันทำงาน


แต่ก่อนบางจากเน้นทำงานตาม KPI แต่ตอนนี้เป็น DNA อะไรที่ไม่ดี ก็ยกเลิกไป เราเตรียมความพร้อมให้พนักงาน ลองผิดลองถูก ล้มแล้วลุกใหม่ หัดทำใหม่ ทุกหลักสูตรที่เรียนรู้ ต้องจบลงที่ project based ถ้าอันไหนเวิร์กก็ต่อยอดไปทำเป็นธุรกิจ เช่น โครงการ วินโนหนี้ หรือพี่วินไม่มีหนี้ ด้วยการเปิดโอกาสให้พี่วินได้เช่ามอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าราคาถูก มาชาร์จไฟในปั๊มบางจากได้เลย หรือโครงการเอาปั๊ม micro gas ไปอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ไม่ต้องไปกันไกลๆ และโครงการเอากากกาแฟมาทำเป็นเชื้อเพลิงใช้แทนถ่าน


ต่อไปในอนาคตอันใกล้ พนักงานในเครือ 1 คน ไม่จำเป็นต้องมีสัญญาจ้างเดียว อาจจ้างเป็นโครงการก็ได้ แต่ทำอย่างไรให้ win win เตรียมคนสู่อนาคต


3. ประสบการณ์การเรียนรู้ บทเรียนจากความผิดพลาด

วัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้เอาเครื่องมืออะไรใส่ ถ้าขัดกับวัฒนธรรม มันประสบความสำเร็จยาก เราต้องสร้างวัฒนธรรม สร้าง mindset ที่ดี สิ่งที่บางจากทำคือ growth mindset กับ วัฒนธรรมการเรียนรู้ เราปรับ growth mindset ทำสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน


ช่วงโควิดระบาดหนักๆ เราประสบปัญหา generation gab กลุ่มวัย baby boomer มีจำนวนน้อย แต่มีอำนาจตัดสินใจ เด็กมองอย่าง ผู้ใหญ่มองอย่าง พอผู้ใหญ่สั่งการ พนักงานก็ทำไปโดยไม่เต็มใจ การแก้ปัญหานี้คือ ถามเด็กเมื่อวานซืนก่อน ยอมรับได้ไหม โอเคไหม แล้วครึ่งทางคืออะไร


อีกบทเรียนที่บางจากก้าวผ่านมาได้คือ เวลาทำอะไร ทดลองทำเล็กๆ ก่อน อย่าคิดปุ๊ปแล้วทำใหญ่ปั๊ป ถ้าเล็กๆ แล้วมันไปได้ ก็ค่อยทำต่อ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนเวลาทำงาน จากเวลาปกติ มาเป็นการเหลื่อมเวลา ทดลองทำกลุ่มเล็กๆ ให้คนเห็นว่าสิ่งที่ทำ มีประโยชน์ ทำได้จริง พอคนเริ่มเห็น ก็ค่อยขยายผลออกไป


เวลาทำอะไร HR จะมองพนักงานซึ่งเป็นลูกค้าเป็นหลัก อย่างเช่น การใช้แพลทฟอร์ม workday เราจะประเมินก่อนว่า ถ้าพนักงานเล่นเฟซเป็น ก็จะใช้ workday เป็น ถ้าเรามองความต้องการของลูกค้า ทุกอย่างที่ทำจะเป็นเรื่องง่าย


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คุณอาฑิตยา พูนวัตถุ

1. เราจะพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้พนักงานได้อย่างไร ท่ามกลางสถานการณ์โควิด

ตอนโควิด เรากระทบเยอะ โดยเฉพาะในมุมลูกค้า เรามีมาตรการพักชำระหนี้ ลูกค้า 1 แสนรายเข้ามาทำธุรกรรมที่สาขา ซึ่งแต่ละแห่งมีขนาดเล็ก ถือเป็นวิกฤตในช่วงโควิด ที่ลูกค้ารุมเข้ามา แต่ถ้าเราไม่ทำเรื่องพักชำระหนี้ ดอกเบี้ยก็จะเดินทุกวัน จากสถานการณ์นี้ทำให้เราต้องเตรียมคนให้พร้อม reskill, upskill ผ่าน mobile app ซึ่งทิศทางที่เราเตรียมการณ์ไว้เริ่มเห็นผล แม้จะติดขัดช่วงแรก เพราะเราไม่มีความพร้อม


2. การวางแผนสร้าง skill ใหม่ๆ ตอบโจทย์ธุรกิจอย่างไร

เงินติดล้อมองปัญหาของลูกค้าเป็นตัวตั้งต้นในการพัฒนาทักษะพนักงาน ลูกค้าเรารายได้ไม่สม่ำเสมอ เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน เพราะฉะนั้นทุกสิ่งที่เราทำ ต้องเข้าถึงง่าย รวดเร็ว มุ่งให้ประสบการณ์ในการให้บริการลูกค้าที่ดี เราให้ความสำคัญกับ digital transformation พัฒนาคนไปด้วยกันกับธุรกิจ ตอกย้ำถึง purpose การทำงานของเรา ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่าน mobile app มีแทบเล็ตให้บริการทางการเงิน ให้ความสำคัญกับคนในทุกระดับ ขณะที่ในกลุ่มผู้บริหารเอง ก็มุ่งส่งเสริมทักษะใหม่ๆ เช่น การประชุมผ่าน metaverse เพราะโลกมันเปลี่ยนไปหมดแล้ว


3. ประสบการณ์การเรียนรู้ บทเรียนจากความผิดพลาด

ช่วงที่โควิดเป็นปัญหาท้าทาย เราเป็นองค์กรที่ผิดพลาดตลอด ทุกสเต็ปในการลงมือทำ ที่ผ่านมาเราไม่เข้าใจชีวิตของลูกค้ามากนัก เราคิดนึกเอาเอง แล้วสร้างสินค้าและบริการขึ้นมา แต่ตอนนี้เราเรียนรู้ตลอดเวลา กล้าลองอะไรใหม่ๆ เราผิดพลาดมาเยอะ พอเราตั้งลำได้ เราก็ออกแบบการเรียนรู้ e-learning ให้กับพนักงานทุกสาขาทั่วประเทศ ลดจุดอ่อนเรื่องข้อจำกัดของสถานที่ อุปกรณ์ไม่พร้อม สร้างสภาพแวดล้อมให้พนักงานพร้อมเรียนรู้ เน้นย้ำ engagement ดูแลซึ่งกันและกัน ดูแลสภาพจิตใจพนักงาน


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คุณพนมศักดิ์ นิรันดร์รุ่งเรือง

ทำไม reskill, rebuild และ reinvent ถึงสำคัญ


ทักษะเป็นพื้นฐานสำคัญของกลยุทธ์การบริหารจัดการคน มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า การเตรียมความพร้อมให้คนด้วยการพัฒนาทักษะ จะทำให้ธุรกิจไปต่อได้ และคนก็เติบโต


งานวิจัยของการ์ดเนอร์ชี้ว่า HR leader มองว่า skill, competency ของพนักงานมีความสำคัญ 68% สามารถตอบโจทย์และตอบสนองความต้องการของธุรกิจ


PWC สำรวจพนักงานว่า มีความรู้อะไร และพร้อมที่จะเรียนรู้ไหม 77% ของพนักงานบอกว่า พร้อมแล้ว มาเหอะ


ผลสำรวจของเมอร์เซอร์พบว่า การสร้างระบบคนเก่ง ข้อมูลต่างๆ ต้องดี 44% ของพนักงาน พร้อมปรับให้ตรงกับสถานการณ์โลก บริษัทต้องมีข้อมูลที่ทำให้รู้ได้ว่า พนักงานแต่ละคนมีศักยภาพอย่างไร เพื่อเอาไปตอบโจทย์การวางแผน ตอบโจทย์ธุรกิจ

ระบบของการพัฒนาคน ต้องพัฒนา gab analysis skill, การทำงานแบบ work mobility เพื่อให้การย้ายงานคล่องตัว การสร้างชุดทักษะ การเชื่อมข้อมูลในการวางแผนต่างๆ ระบบการคิดวิเคราะห์สำคัญมากๆ


the skills imperative: “ข้อมูลที่ดีต้องไม่ทำให้เรานั่งเทียน” (AIS said) นี่คือ source of truth สิ่งที่เราคิดในเรื่องของ skill เราต้องคิดให้เป็น loop เราต้องสร้าง agility mindset ขึ้นมาให้ได้ การคิดมันต้องวนลูป มีการปรับเปลี่ยนการคิด มีการคิดวิเคราะห์ผลลัพธ์ตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่เรามีข้อมูลที่ดี จะเป็นการเปิดโอกาสให้กับทุกคนในองค์กร


“เลิกพูดเรื่อง gen ได้แล้ว” (AIS said) เราควรที่จะเอาทุกคนมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ให้อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน แต่ละองค์กรมีวัฒนธรรมไม่เหมือนกัน แต่เราจะทำอย่างไรที่จะสร้างบุคลากรของเรา ให้มีวัฒนธรรมองค์กรที่เชื่อมโยงถึงกันให้ได้ การอยู่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน การต่อสู้และเผชิญธุรกิจในอนาคต สามารถประยุกต์ได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นทุกๆ อย่าง อยู่ที่ทุกๆ คน ร่วมมือกัน

Building a skills strategy is critical success: สิ่งที่ workday นำเสนอ สรุปง่ายๆ คือ กลยุทธ์ของการสร้างทักษะ เป็น key success ของทุกองค์กร ทุกองค์กรมองเห็นแล้วว่า skillset เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เป็นการสร้างคนให้มีศักยภาพ พร้อมที่เผชิญกับภาวะที่ไม่แน่นอน วิกฤตที่เกิดขึ้น นับวันจะเกิดบ่อยขึ้น และเร็วขึ้น ตราบใดที่เรามี skill กับพนักงานที่เก่งอยู่คู่กับองค์กร จะทำให้ธุรกิจเราเติบโตได้ในอนาคต

stages of skills-based transformation: พื้นฐานทักษะต้องมีการวางเพื่อให้ตอบโจทย์กลยุทธ์ธุรกิจ วิธีการสร้าง mindset ของการเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร จะต้องเกิดจากพื้นฐานขององค์กรนั้นๆ พอเกิดมาแล้ว data จะเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็น master data เพื่อให้เกิดการทำ insight data ได้ เพราะฉะนั้นการทำ planning และ analytic ก็จะเกิดขึ้น มันจะเกิดการ optimization กลุ่มคนเก่งที่เกิดขึ้น ทุกอย่างจะเกิดได้ต้องมาสร้างสเต็ปของมัน ข้อมูลต้องพร้อม องค์กรถึงจะขับเคลื่อนได้ ด้วยพนักงานที่ดี ที่เก่ง


จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบทสังคมโลก ที่ส่งผลต่อทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำอย่างไรที่เราจะ Reskill, Rebuild และ Reinvent ทั้งทักษะและสมรรถนะใหม่ ๆ ให้ตอบโจทก์ธุรกิจและจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานในอนาคต โดย ดร.ปรง ธาระวานิช หัวหน้าสถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Head of AIS Academy) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), คุณนพชัย นุตสติ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), คุณอาฑิตยา พูนวัตถุ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝ่ายนายหน้าประกันภัย บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน), คุณพนมศักดิ์ นิรันดร์รุ่งเรือง country sales manager, workday Thailand, ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน




ดู 243 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page