top of page

Organization Learning

สราวุธ พันธุชงค์ | People Magazine 4/2556

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ขององค์การ Organization Learning อย่างไร

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาคนและองค์การ เพราะเป้าหมายของการจัดการความรู้มีสองประเด็นคือหนึ่งจัดการความรู้แล้วคนเก่งขึ้น คิดเป็น ทำเป็นแก้ไขปัญหาเป็นระบบ สององค์การบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การเรียนรู้ขององค์การเป็นกระบวนการของการปรับปรุงการทํางานโดยผ่านความรู้ความเข้าใจ ว่าองค์กรจะเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต หรือสิ่งที่ผ่านมาในการทํางานตามปกติซึ่งถือเป็นเครื่องชี้นําพฤติกรรมเป็นกระบวนการสืบค้นและคัดเลือกสิ่งที่ผิดพลาด (Lesions Learned)เรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต การทำงานจะประสบผลสำเร็จมีผลลัพธ์ที่ดีเลิศ (Best Practice) และเกิดการแบ่งปันความรู้ ความเข้าใจ และโลกทัศน์ร่วมกันการเรียนรู้ในองค์กรถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเกิดจากการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกทั้งหลายในองค์กร และเมื่อบุคลากรในองค์กรเกิดการเรียนรู้แล้วก็ถือว่าองค์กรเกิดการเรียนรู้ด้วยเช่นกันซึ่งการเรียนรู้ในองค์กรจะเกิดขึ้นได้ใน 4 ลักษณะดังนี้


1. การเรียนร้จากการแก้ปัญหา (Problem Oriented Learning) เป็นการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทํางานปัญญหาทีเกิดขึ้นจำเป็นตัวกำหนดว่าเราต้องเรียนรู้อะไรบ้างจึงจะแก้ไขปัญหานี้ไปได้ซึ่งรวมไปถึงวิธีการและตัวบุคคลที่จะต้องเรียนรู้โดยการเรียนรู้จะเกิดขึ้นในงานที่ได้ลงมือปฏิบัติ (on-the-job) กระบวนการเรียนรู้จะเชื่อมโดยตรงกับกระบวนการทํางาน


2. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) การเรียนรู้ร่วมกนเป็นทีม จะทําให้การเรียนรู้มีพลังมากกว่าการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลในการที่จะเสนอความคิดหรือความรู้ไปสู่องค์กรทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นทีมจะทําให้สมาชิกในทีมได้คิดอย่างลึกซึงเกียวกับแนวความคิดที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่จําเป็นในการพัฒนาองค์กร ทําให้มีการพัฒนาจากความรู้ไปสู่การเป็นนวัตกรรม การประสานงาน และการปฏิบัติ อีกทั้งยังเสริมบทบาทของสมาชิกในทีมต่อทีมอืน ๆ อีกด้วยการเรียนรู้ร่วมนเป็นทีมนี้มีปัจจัยทีสําคัญ คือ ความพึงพอใจในทีม ซึงสามารถสร้างได้โดยการเปิดกว้างทางความคิด (openness) และมีสิ่งที่ KM เรียกว่า Social Capital ได้แก่ Love, Care, Trust, Safety ในมุมมองแนวความคิดสร้างคุณค่าของทีมให้อยูเหนือกว่าคุณค่าของบุคคลและสร้างทีมให้เป็นที่ผสมผสานกันของสมาชิก


3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning) การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจะสอนให้คนเรียนรู้โดยผ่านการแก้ปัญหา และการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาไปสู่แนวทางการแก้ญหาใหม่ซึ่งต้องอาศัยการศึกษาจากการปฏิบัติงาน กรอบแนวคิดพื้นฐานเรืงอง Action Learning มีลักษณะดังนี้

· เป็นการเรียนรู้ จากประสบการณ์ (ก่อให้เกิด Tacit Knowledge)

· เป็นการเรียนรู้ โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กบผู้อืน (ใช้เครื่องมือ KM ที่ชื่อ Socialization)

· เป็นการเรียนรู้ โดยการให้ผู้ร่วมงานวิจารณ์และแนะนํา (ใช้เครื่องมือ KM ที่ชื่อ Dialogue)

· เป็นการเรียนรู้ โดยนําเอาคําแนะนําจากผู้ร่วมงานไปปฏิบัติ (ใช้เครื่องมือ KM ที่ชื่อ KM Peer Assist)

· เป็นการเรียนรู้ โดยการทบทวนร่วมกับผู้ร่วมงานถึงสิ่งที่ได้นําไปปฏิบัติว่าได้รับความรู้จากการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ (ใช้เครื่องมือ KM ที่ชื่อ After Action Review)


4. การเรียนรู้และทํางานร่วมกันในลักษณะเป็นเครือข่าย เป็นลักษณะของความสัมพันธ์ในแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง ความเชื่อมโยงระหวางคนที่เข้ามาสัมพันธ์ก่อนเป็นเครือข่ายนีคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกันมีการแลกเปลียนความคิด และ/หรือ ทรัพยากรระหวางกันตามความสมัครใจ มีการช่วยเหลือกนและสื่อสารกันอยางสม่าเสมอ แต่ไม่มีการบังคับบัญชาสั่งการ ไม่มีโครงสร้างอํานาจ ดังนั้น จุดร่วมของคนที่เข้ามาเชือมโยงเป็นเครือข่ายจึงได้แก่ การมีแนวความคิดคล้ายคลึงกน มีความสนใจหรือทํางานในเรื่องเดียวกัน มีการแลกเปลียน เรียนรู้ การติดต่อสื่อสารถึงกันเป็นระยะรวมทั้งอาจมีการระดมพลังร่วมขององค์กร ทั้งหมดนี้ ใช้เครื่องมือ KM ที่ชื่อ CoP (Community of Practice)


ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาคนและองค์การ เป็นเครื่องมือที่จะสร้างการเรียนรู้ขององค์การให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page