top of page
รูปภาพนักเขียนสราวุธ พันธุชงค์

Knowledge Management - ในฐานะเครื่องมือรับการเปลี่ยนแปลง

สราวุธ พันธุชงค์ | People Magazine 3/2557

ในยุคเศรษฐกิจเกิดใหม่ (New Economy) โลกได้ถูกจัดระเบียบใหม่ เนื่องจากแนวความคิดในการจัดการความรู้ของโลก ได้ถูกคิดค้นขึ้น และการที่โลกได้ถูกเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนในโลกได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างรวดเร็ว จนทำให้องค์ความรู้ใหม่ของโลกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในทุก ๆ 6 เดือน


เมื่อความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นมีความง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น จึงทำให้มีผลกระทบต่อการมีชีวิตอยู่ของมวลมนุษย์ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า อินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ทำให้เกิดกรอบการทำงานใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป จนปัจจุบันได้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึงกว่าพันล้านคนทั่วโลก เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้อาศัยฐานความรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้นอันเนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการลงทุนในต่างประเทศอย่างเสรี มีการขยายตัวของระบบการค้า ผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าถึงกันได้รวดเร็ว รูปแบบการขายตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยไม่ผ่านคนกลางจะมีมากขึ้น เกิดเครือข่ายทางธุรกิจเชื่อมโยงทั่วโลก การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยมุ่งหวังการประสานประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การมีศักยภาพในการแข่งขันในะดับประเทศและ สร้างพลังต่อรองในระดับภูมิภาคจะมีมากขึ้นนอกจากนี้ ในยุคเศรษฐกิจเกิดใหม่ ยังเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้ ความรู้และนวัตกรรมใหม่ เป็นปัจจัยหลักในการก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเป็นพลวัตสูง ด้านการตลาดจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อันเนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้นการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับคุณภาพและความแปลกใหม่ รวมทั้งการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าและความรวดเร็วรูปแบบการบริหารงานองค์การจะเป็นลักษณะเครือข่ายเป็นระบบที่ต้องการแรงงานที่มีความรู้และทักษะกว้างขวาง รวมทั้งเป็นแรงงานที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตการจ้างแรงงานจะเป็นการจ้างตามกลไกตลาดที่เน้นผลงาน/ชิ้นงานเป็นหลัก


การเชื่อมต่อของโลกทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบเปิด และขยายตัวไปทั่วโลกมากขึ้น คำถามที่สำคัญคือ ประเทศกำลังพัฒนาจะปรับตัวอย่างไร เพื่อรองรับการขยายตัวของกระแสโลกาภิวัตน์ของโลก คำตอบคือต้องสร้างแรงงานเปรื่องปัญญาหรือที่เรียกว่า โนว์เลจ วอล์คเกอร์ (Knowledge worker) ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ (Knowledge Management)


ขณะนี้โลกหันมาใช้วิธีการแบ่งปันความรู้กันมากขึ้น จนทำให้องค์กรที่ทำวิจัยแบบปิดลับ โดยไม่มีการทำงานวิจัยร่วมกับองค์กรอื่นเริ่มล้มหายตายจากไป เช่น ห้องวิจัยของไอบีเอ็ม, อินเทล, เอทีแอนด์ที เป็นต้น องค์กรที่ไหวตัวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ทัน ก็เริ่มกระจายความรู้สู่องค์กรที่เขาจับมือด้วย ทำให้ความรู้แตกตัวออก และพัฒนาได้อย่างรวดเร็วขึ้นทันตา จึงทำให้องค์กรที่ปรับตัวทันมีความได้เปรียบองค์กรอื่น จนทำให้เทคโนโลยีของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน


ปรากฏการณ์ดังกล่าว จึงทำให้ช่องว่างระหว่างผู้ที่มีความสามารถที่ใช้เทคโนโลยีเครือข่าย กับผู้ที่ไม่มีความสามารถดังกล่าว มีช่องว่างแห่งความรู้ และช่องว่างโอกาสห่างกันอย่างรวดเร็ว จนทำให้มีการแบ่งแยกผู้ที่มีความรู้และไม่มี อย่างชัดเจน


องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization ) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า HPO นักวิชาการบางท่านเรียกว่าองค์กรที่เป็นเลิศ (Excellence Organization) ในปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งทั้งภาคเอกชนและภาครัฐของไทยได้ให้ความสำคัญและนำเครื่องมือการบริหารต่าง ๆ มาพัฒนาหน่วยงานเพื่อก้าวไปสู่องค์กรสมรรถนะสูง สำหรับในภาครัฐที่สำคัญ เช่น กระทรวงพลังงาน และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้ตั้งเป้าไว้อย่างชัดเจนในการที่จะผลักดันองค์กรให้กลายเป็น HPO ให้ได้ ซึ่งผู้บริหารของหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นอย่างมาก


สำหรับความหมายขององค์กรสมรรถนะสูงพูดง่ายๆ คือการเป็นองค์กรที่เก่ง มีแผนรองรับกับสภาวะต่างๆ อย่างชัดเจน มีการวิเคราะห์สถานการณ์ที่สามารถกระทบต่อการทำงานจากรอบด้านทุกมุมมอง ทำให้สามารถปฏิบัติภารกิจบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามเวลา และคุณภาพของผลงานดีเยี่ยม เป็นที่ยอมรับ องค์กรเหล่านี้ ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูล จัดการองค์ความรู้ วัด และวิเคราะห์ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบที่สำคัญเช่น

  • มีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการสร้างนวัตกรรม

  • มีระบบข้อมูลสารสนเทศพร้อมใช้งานและเข้าถึงได้ง่าย

  • มีระบบการรวบรวม และถ่ายทอดความรู้ของบุคลากร การแสวงหาและแลกเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การจัดการความรู้ Knowledge Management จึงเป็นเครื่องมือรับการเปลี่ยนแปลงในยุคบัจจุบันอย่างชัดเจน

ดู 42 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Kommentare


bottom of page