มณฤดี ตั้งตระการพงษ์ | People Magazine 4/2555
ผู้เขียนมีเรื่องมากมายจากประสบการณ์โดยตรงของการเป็น HR ที่ประเทศอังกฤษ ที่ไม่เคยประสบพบเจอมาก่อนเลยอยากมาเล่าสู่กันฟัง
เนื่องจากการทำงานของที่นี่ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อไม่นานที่ทำงานผู้เขียน มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ในระดับ Managing Director ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ทำงานโดยตรงกับผู้บริหาร งานแรกที่ได้รับมอบหมายคือการปรับโครงสร้างองค์กร นับว่าเป็นงานที่ท้าทายมาก เนื่องจากองค์กรขาดสภาพคล่อง เพราะภาวะเศรษฐกิจ มีความจำเป็นต้องตัดพนักงานออก แต่การคัดคนออก หรือที่เรียกว่า Redundancy ที่นี่ก็ไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ และหน้าที่หนี่งของ HR คือการคุมความลับทั้งหมดขององค์กร ทั้งความลับของพนักงาน ความลับของผู้บริหาร คนไหนถูกเพ่งเล็ง อะไรต่างๆ อันนี้ก็เป็นส่วนหนี่งของหน้าที่ที่ทุกคนไม่รู้
วกมาถีงเรื่องการกำหนดมาตรการให้พนักงานออก กฏหมายที่นี่ต้องยอมรับว่า มีการคุ้มครองพนักงานสูงมาก ที่นี่พนักงานสามารถหาหน่วยงานขอความช่วยเหลือได้ฟรี ที่เรียกว่า ACAS (The Advisory, Conciliation and Arbitration Service) ซี่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขี้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพนักงาน หน่วยงานนี้มีหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฏหมายแรงงานทุกเรื่อง เมื่อพูดถีงเรื่องนี้ จะเห็นในสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าพนักงานที่ไหนก็สามารถได้รับคำแนะนำได้ เมื่อมีการปรับปรุงองค์กรเกิดขี้น สิ่งแรกที่ผู้เขียนต้องนำเสนอผู้บริหารคือ
1) Redundancy Process and Procedure
2) Zero Hours contact
3) Compromise Agreement
ประเด็นแรกคือ มีการเรียกประชุมพนักงานทีละคน ทั้งองค์กร ในวันนั้น จำได้ว่า ทั้งวันทุกคนเกิดความเครียด ต้องมีการบันทีกหลักฐานว่าเรามีการประชุมกันเกิดขี้น เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดแก่ทุกคน เรียกง่ายๆว่าให้ลาออกอย่างมีความสุข อันนี้ก็เข้าประเด็น HR ผู้ปิดทองหลังพระเลยทีเดียว
การเสนอ Redundancy นั้น ต้องมีการทำ Business Rationale มีการทำ Matrix เปรียบเทียบคุณวุฒิการศีกษา การประเมินผล ใครควรถูกให้ออกก่อนเป็นลำดับก่อนหลัง ซี่งผู้บริหารเห็นว่าเป็นความยุ่งยากและอาจจะก่อให้เกิดความรู้สีกที่ไม่ดีทั้งสองฝ่าย จีงมีทางเลือกอีกสองทางเกิดขี้น โดยคำแนะนำจากทนาย ซี่งทนายที่นี่ อัตราจ้างต่อหนี่งชั่วโมงเป็นจำนวนถีง หมื่นห้าพันบาท ต่อหนี่งชั่วโมง
ทางเลือกที่สองที่เราเสนอให้พนักงานคือ ทุกคนเซ็นสัญญาใหม่ สัญญาที่เกิดขี้นเป็น zero hour contract คือไม่มีการผูกมัดการทำงาน การว่าจ้างขี้นกับนายจ้างว่าจะจ้างชั่วโมงการทำงานอย่างไร ต่อสัปดาห์ ต่อพนักงาน zero hour contract นี้มีข้อเสียคือ พนักงานขาดความมั่นคง และไม่อยากทำงานเนื่องจากไม่ทราบว่าตนจะมีเวลาทำงานมากน้อยแค่ไหนในหนี่งสัปดาห์ แต่สิ่งนี้กลับกลายเป็นผลดีในภายหลัง เพราะหลังจากที่พนักงานลาออกไป พวกที่คงอยู่ถีงแม้จะมี zero hour contract ก็ทำงานได้มากเหมือนเดิม เหมือนไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขี้น
ทางเลือกที่สามเรียกว่า Compromise Agreement ซี่งเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างประมาณสิบหน้ากระดาษ ร่างโดยทนาย และมีการเจรจากันเช่น นายจ้างยินดีที่จะจ่ายค่าลาออกจำนวนหนี่ง แต่พนักงานต้องเซ็นสัญญาว่าจะไม่ฟ้องร้ององค์กรในภายหลัง สัญญานี้ ต้องถูกส่งผ่านให้ทนายฝ่ายลูกจ้าง โดยผู้บริหารต้องรับผิดชอบค่าทนาย
ปรากฎว่า มีพนักงานส่วนหนี่งยินยอมเซ็นสัญญา zero contract ในขณะที่อีกส่วนหนี่งใช้ Compromise Agreement ซี่งนับว่าไม่เป็นเรื่องง่ายเลย เพราะต้องมีการคำนวณ ระยะเวลาการทำงาน อายุ วันพักร้อน จนในที่สุดกว่าจะเจรจากันได้ ก็ใช้เวลานานพอสมควร ผู้เขียนจำได้ไม่ลืมว่า ในช่วงนั้น นอนไม่หลับ เพราะเครียดมาก เนื่องจาก ต้องทำให้ทุกฝ่ายแฮปปี้ ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายพนักงาน พนักงานบางคนโทรมาห้าทุ่ม ตลอดจนการทำเงินเดือนซี่งยุ่งยากมากเพราะมีคนออกมากมาย สิ่งต่างๆเหล่านี้ พนักงานไม่ทราบผลกระทบด้านจิตใจของคนทำงานเป็น HR
นอกจากนี้ หน้าที่ของ HR ที่นี่คือ ดูแลด้าน Health & Safety ของพนักงาน ที่นี่จะต้องมี Risk Assessment ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น
Classroom Risk Assessment ดูแลเรื่อง ความปลอดภัยในห้องเรียน
Computer Screen Risk Assessment ความปลอดภัยด้านการใช้คอมพิวเตอร์
Fire Regulations ทุกเรื่อง ทุกอย่าง
ทำให้รู้สีกว่าทุกอย่างเป็นระบบ เป็นกฏระเบียบมากๆ ยังนีกอยู่ในใจว่า มิน่าชาวตะวันตก หรือคนอังกฤษชอบมาเมืองไทย เพราะประเทศมีกฏมากเกิน แต่ในความเป็นจริง ก็เป็นสิ่งที่ควรคำนีงถีง นอกจากนี้ ผู้เขียนยังต้องคอย Update Employment Law ตลอดเวลา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี เพราะฉะนั้น การเป็น HR ที่นี่ เหมือนมีสองด้าน หน้าที่หลักคือการทำให้ทุกฝ่ายมีความสุข สิ่งเหล่านี้ เป็นข้อเตือนใจว่า HR ต้องมีบทบาทปิดทองหลังพระจริงๆ เพราะต้องดำเนินการทุกเรื่องโดยที่ไม่มีใครเห็น แถมยังอาจถูกพนักงานไม่ชอบอีก เพราะตัองทำงานกับผู้บริหารตลอดเวลา
Comments