บรรยายโดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ | Thailand HR Day 2017
สร้างองค์กรนวัตกรรม สานพลัง การพัฒนาทุนมนุษย์ นำไทยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน
หัวใจสำหรับศตวรรษที่ 21 มีอยู่ 2 เรื่องคือ Talent & Technology ซึ่งเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมาจากคนที่มี Talent ดังนั้น หัวข้อวันนี้จึงขอนำเสนอ “การเตรียมคนไทยเข้าสู่ศตวรรตที่21” ซึ่งจะนำไปสู่ agenda ที่สำคัญของประเทศ
ภูมิทัศน์ของโลกศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย
1. โลกแห่งความสุดโต่ง สุดโต่งในด้านธรรมชาติ, เศรษฐกิจ, การเมือง,สังคม ก่อให้เกิดความ เหลื่อมล้ำของมนุษย์ ซึ่งกลายเป็น global agenda
2. โลกแห่งความย้อนแย้ง กฎเกณฑ์กลายเป็นข้อยกเว้น ข้อยกเว้นกลายเป็นกฎเกณฑ์ หลักคิดของโลกย้อนแย้งคือ เปลี่ยนจาก There is no alternative เป็น Another world is possible. ระบบความคิดเก่าไม่ว่า จะเป็นแนวคิดแบบตะวันตกหรือตะวันออก แนวคิดทุนนิยมหรือประชาธิปไตย จะไม่มีผลอีกต่อไป คนไทยเรามีแนวคิดของตัวเองแล้ว นั่นคือศาสตร์พระราชา
3. โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน (The age of disruption) พวกเรากำลังอยู่ใน ช่วงปฏิวัติอุตสาหรรมครั้งที่4 ที่มีการสะสมเทคโนโลยีมาพอสมควรแล้ว จนเกิดอาการ fusion และนำไปสู่ disruption โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน ทำให้เราเกิด Nanosecond culture การเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ภูมิทัศน์ของโลกทั้ง3แบบในศตวรรษที่ 21 จะนำไปสู่ โอกาสชุดใหม่ ภัยคุกคามชุดใหม่ ความท้าทายใหม่ รวมไปถึงความต้องการขีดความสามารถแบบใหม่
โลกเปลี่ยน คนปรับ
ว่าด้วยการรักษาสมดุลระหว่าง มนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับเทคโนโลยี ซึ่งจะสร้างความยั่งยืน มั่นคง และมั่งคั่งตามลำดับ ในมิติดังต่อไปนี้
1. วัฒนธรรมการดำเนินชีวิต ที่ตระหนักว่า ของทุกสิ่งมี side effect ขึ้นอยู่กับว่าเราเห็นด้านที่เป็น ประโยชน์และต่อยอดมาใช้อย่างไร โดยคำนึงถึง
· การเปลี่ยนแปลงจาก social system สู่ Socio-technical system
· การเปลี่ยนแปลงจาก physical humanity สู่ digital humanity
· การเปลี่ยนแปลงจาก negative side of good สู่ positive side of bad
2. วัฒนธรรมในการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการเรียนรู้ การละวางสิ่งที่เรียนรู้ และการเรียนรู้ใหม่ อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด
· Democratisation of info การคัดกรองและกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับ ทำอย่างไรให้เกิด information governance
· Demonopolisation of knowledge แหล่งความรู้วิชาการ ปัญญามนุษย์ มีอยู่ในทุกที่ ไม่จำกัดอยู่เพียง ในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป
· Disruption if Technology and innovation ต้อง disrupt ตัวเอง เพื่อไม่ให้ถูก disrupt ได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นคนที่ต้องเรียนรู้ไม่ใช่แค่เพียงนักเรียน
3. วัฒนธรรมในการทำงาน
· power of knowledge สู่ power of shared knowledge ความรู้คืออำนาจ จึงสามารถเป็นมหาอำนาจ ยิ่งแชร์ยิ่งเป็นมหาอำนาจผ่าน collaborative knowledge
· producing knowledge สู่ producing meaning ในโลกอนาคต ต้องมี 4 E ได้แก่ Exploring, Experiment, Experience, Exchange
· production system สู่ cyber-physical system การก้าวเข้าสู่ industry 4.0 ที่ปลี่ยนจาก คนติดต่อกับคน ไปสู่ คนติดต่อกับเครื่อง กลายเป็น เครื่องติดต่อกับเครื่อง
เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะอยู่เฉยได้อีกต่อไป ต้องตระหนักถึง New Economy อะไรคือ ecosystem for the future อะไรคือ mindset ที่ต้องปรับ และอะไรคือ skillset ที่ต้องเปลี่ยน
New Economy
การมองภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแบบแยกส่วน ไม่ได้อีกต่อไป แต่ high value service ต้องประกอบด้วย Talent และ Technology ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ภูมิปัญญามนุษย์ใหม่ๆ จากการวิจัยของดร.สุวิทย์ ในการสัมภาษณ์ CEO ต่างๆทั่วโลก พบว่า DNA หลักของคนไทยทั้ง 5 คือ Fun, Flexible, Fulfil, Friendly, Flavoring ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเป็น Creative Economy ใน 5 ด้าน Fighting (มวยไทย), Festival, Food, Fashion,… การเอาชนะความไร้สมดุลของสามมิติ คน - ธรรมชาติ - เทคโนโลยี ต้องสร้าง Value Creation ถอดรหัสความไม่สมดุลสู่สมดุล เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส
New Ecosystem
1. เปลี่ยนจากมุมมอง centralize hierarchical structure สู่ multi-layers poly centric การเปิดโอกาสให้ได้ปลดปล่อยศักยภาพมนุษย์ด้วย democratized process เช่น การปลดปล่อยตัวตนผ่าน social media
2. เปลี่ยนจาก Government สู่ Governanceใช้กลไกของประชารัฐมาร่วมขับเคลื่อน นอกเหนือจากภาครัฐอย่างเดียว
3. เปลี่ยนจาก Function สู่ Agenda เปลี่ยนจากการทำงานแบบอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (silo) มาทำงานเป็นวาระร่วม
4. เปลี่ยนจาก Local สู่ Global context ทั้งโลกจะเชื่อมต่อกัน (commonisation) สุขและทุกข์ร่วมกันทั้งโลก
Mindset
1. จาก command & control สู่ Collaboration & co-ordinate เพราะพลังที่แท้จริงคือ critical mass
2. จาก ประโยชน์ร่วม สู่ คุณค่าร่วม
3. จาก จิตอัตตา สู่ จิตอาสา
4. จาก Short term gain, long term loss สู่ Short term loss, long term gain ต้องยอม suffer ก่อน เพื่อให้ได้ผลในระยะยาว
Skill set
เมื่อมี mindset ที่ดีแล้ว จึงต่อยอดทักษะในด้านต่าง ๆ ดังนี้
Sense making, Social intelligence, Novel & advance thinking, Cross Cultural Competency, Computational Thinking, New Media Literacy, Transdiciplinary, Design mindset, Cognitive load management, Virtual collaboration (ที่มา NASTDA, 2005)
ทั้งนี้ การสร้าง Sufficient condition คือ การสร้างให้คนอยู่ร่วมกันในเชิงบวก และสร้างสมดุล ระหว่าง ทุนมนุษย์กับปัจจัยด้านสังคม โดยใช้การคิดเป็นรากฐานสู่การเรียนรู้เชิงทดลองโดยอิง 3 L Model ที่ประกอบด้วย
Love to learn >>> Learn why to learn >>> Learn whom to learn with
โดยปัจจัยหลักที่ต้องมีสมดุลเพื่อความยั่งยืนคือ
· Learn to live หมายถึง การตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง (Independent: Self-Value)
· Learn to love หมายถึง การตระหนักรู้คุณค่าในผู้อื่นและส่วนรวม (Interdependent: Communal Value)
ทั้ง Mind set ละ Skill set ที่เตรียมพร้อม จะเป็นหัวใจของความสำเร็จสู่ Thailand 4.0
กระบวนการเรียนรู้เพื่อเตรียมคนไทยไปสู่ศตวรรษที่21
1. Purposeful People คือ คนที่มีแรงบันดาลใจ มีความมุ่งมั่น มีพลัง และมีความหมาย
> ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย (Purposeful Learning) เน้นการใช้ความรู้สร้าง นวัตกรรม
2. Innovative People คือ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถรังสรรค์นวัตกรรม
>ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (Generative Learning)เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
3. Mindful People คือ คนที่มีจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
> ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่วนรวม (Mindful Learning) เน้นการปลูกจิตสาธารณะ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
4. Action-Based People คือ คนที่มุ่งการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์
> ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ (Result-Based Learning)
การสร้างวิสาหกิจและ Startup ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ด้านเกษตรกรรม เปลี่ยนจากแบบดั้งเดิม สู่เกษตรสมัยใหม่
SME เปลี่ยนจากแบบดั้งเดิม สู่SMEแบบขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ธุรกิจบริการ เปลี่ยนจากแบบดั้งเดิม สู่ธุรกิจบริการมูลค่าสูง
Startup เปลี่ยนจากคุณค่าของความคิด สู่มูลค่าทางธุรกิจ
หัวใจสำคัญคือ การแยกแยะ รักษาสิ่งเก่าที่ดี และเปิดรับสิ่งใหม่ที่ตรงกับบริบทมาปรับใช้ ซึ่งการขับเคลื่อนทั้งหมดนี้ เริ่มจากการตระหนักรู้และเห็นใจ ช่วยเหลือผู้ที่ลำบาก ให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อย่างพอเพียงและยั่งยืน นำไปสู่สังคมและประเทศชาติ ที่เป็นปกติสุข
Yorumlar