top of page
  • รูปภาพนักเขียนKHON

5 reasons why everyone should try an art class


โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เราเรียนรู้เมื่อเราอยากรู้ เมื่อเรามีคำถาม เมื่อเราต้องการแก้ปัญหา ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีถือตัวช่วยที่ทำให้เรียนรู้ได้ไวขึ้น และทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น Microlearning การเรียนรู้แบบพอดีคำ จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบันที่มองว่าเวลามีไม่เพียงพอ ยิ่งมีปริมาณข้อมูลที่ไหลเข้ามาจำนวนมาก ยิ่งทำให้คนเลือกที่สนใจหรือจดจำข้อมูลต่างๆ ได้น้อยลง Time of Attention ของคนเราในวันนี้อยู่ที่เพียง 8 วินาทีเท่านั้น เนื้อหาดีอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ต้องทำให้ผู้เรียนสนใจและจดจำข้อมูลความรู้นั้นได้ด้วย


จากผลการวิจัยในสหรัฐอเมริกาจากคนทำงานกว่า 2,000 คน พบว่า คนใช้มือถือในการเรียนรู้มากสุด 67% โดยใช้ในช่วงระหว่างเดินทาง 52% ใช้ในวันหยุด 47% และใช้ในที่ทำงาน 42% นี่คือโอกาสของ HR ที่จะเข้าถึงการเรียนรู้ของพนักงานได้มากขึ้น เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความรู้ที่มีจึงหมดเร็วมากเช่นกัน (Time on Shelf) ผลวิจัยยังพบว่า ตลอดช่วงชีวิตการทำงานของ Generation Y มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงาน 15 ครั้ง หรือ เปลี่ยนงานในทุก 2- 3 ปี ดังนั้น องค์กรต้องหาวิธีพัฒนาการเรียนรู้สู่การปฏิบัติให้เร็วยิ่งขึ้น ทำอย่างไรให้พนักงานเรียนรู้ได้ไวและสามารถนำความรู้มาใช้งานได้ทันเวลา ปัจจุบันหลายองค์กรจึงนำ Agile มาใช้มากขึ้น ทำให้งานยืดหยุ่น รวดเร็ว และคล่องตัว


Microlearning ตอบสนองการเติบโตขององค์กร

Easy เข้าถึงง่าย คนเราใช้มือถือเป็นพฤติกรรมหลัก สื่อสารข้อมูลให้เข้าถึง แต่ไม่ยัดเยียด

Personalize ออกแบบให้เหมาะกับแต่ละบุคคล แม้จะเป็นโจทย์เดียวกัน แต่ละคนจะมีคำถามไม่เหมือนกัน มีความสนใจไม่เหมือนกัน HR จะต้องช่วยพนักงานในการหาคำตอบ

Engage มีส่วนร่วม สร้างประสบการณ์ร่วมในแต่ละช่วง อาจแบ่งเป็นช่วงสั้นๆ ในการเรียนรู้ มีความหลากหลาย หาส่วนผสมมาร้อยเรียงกันให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและอยากติดตาม

Focus เจาะจง แบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆ เจาะจงสำหรับผู้เรียนได้ตอบโจทย์การทำงาน นำไปใช้ได้เลย กำหนดวัตถุประสงค์ย่อยได้ ไม่หลุดประเด็น


นอกจากนี้ หลายองค์กรเริ่มนำ Microlearning มาปรับใช้ใน Formal Learning ในองค์กรมากขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องมือให้เลือกใช้มากมาย ได้แก่ Micro Lecture , Micro Learning App , Engagement Mini Game และ Poll เป็นต้น เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วต้องติดตามผู้เรียนว่าเกิดผลัพธ์หรือไม่ ใช้วิธีส่งข้อมูลไปสอบถามหลังการเรียน Challenge ผู้เรียนด้วยการตั้งสถานการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้เรียนได้ฝึกแก้ปัญหา โดยไม่ต้องกลับมาเรียนทบทวนโครงสร้างใหม่


การสร้าง Microlearning ต้องเริ่มต้นจากการตั้งคำถามและหาคำตอบให้ได้ก่อน โดยแบ่งข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นส่วนๆ ตามที่ผู้เรียนอยากรู้ ทั้งนี้ ข้อมูลที่สั้นๆ ไม่ได้แปลว่าดีเสมอไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการนำเสนอและเนื้อหาด้วยว่าเป็นที่ต้องการของผู้เรียนหรือไม่ Microlearning ไม่สนใจว่าผู้สอนใช้วิธีใด แต่สนใจว่าผู้เรียนนั้นเรียนรู้ได้อย่างไร ไม่สนใจว่าผู้สอนช่วยอย่างไร แต่สนใจว่าผู้รียนแก้ปัญหาได้อย่างไร สำหรับการทำ Learning for Learner เป็นการลงรายละเอียดไปยังตัวบุคคล ซึ่งแต่ละคนมีปัญหาไม่เหมือนกัน “องค์กรจะช่วยแก้ปัญหาให้กับพนักงานได้อย่างไร” เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า “เราจะปรับใช้ Microlearning ในองค์กรอย่างไร”


สิ่งที่ควรระวังและควรใส่ใจ เกี่ยวกับ Microlearning

1. Be the Answer : ต้องทำตัวเป็น Google ถาม-ตอบเองให้ได้ก่อน

- Reframe your learning ผู้เรียนมีคำถามอะไร จัดกลุ่มผู้เรียนให้ได้

- Tie learning to scenario เริ่มต้นจากงานก่อน เริ่ม Product ใหม่แล้วค่อยตามมาสู่ Skill ของผู้เรียนที่ต้องรู้

- Use Q&A หาคำตอบของผู้เรียนให้ได้

2. Don’t Do It in Silo : อย่าใช้วิธีการเรียนรู้เพียงตัวเดียว

- Put structure on it ใส่โครงสร้างลงไป เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง ให้เห็นภาพใหญ่ขึ้น

- Link to what they already know เรียนรู้เพิ่มเติมด้วยการเชื่อมกับความรู้เดิมที่มีอยู่ จะทำให้เรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น สามารถตั้งประเด็นคำถามมาพูดคุยต่อยอด ให้โจทย์มาแล้วเกี่ยวข้องกับผู้เรียนซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ

- Micro integrated learning experience การเรียนรู้ของคนเราเปรียบเสมือนการเดินทาง สุดท้ายเราต้องขมวดออกมาให้ได้ สามารถนำมาเชื่อมโยงกันอย่างมีระบบ

3. Be Holistic : มองภาพแบบองค์รวม จัดการเรียนรู้ให้เข้ากับโมเดลการเรียนรู้

70 Experiential Learning : 20 Social Learning : 10 Formal Learning

ทำให้ Microlearning เป็นเพื่อนที่คอยช่วยหาคำตอบ ทำแล้วต้องตอบโจทย์ ช่วยผู้เรียนแก้ปัญหาได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ควรทำให้เชื่อมโยงกันเป็นภาพรวม และเหมาะสมกับกลุยทธ์การเรียนรู้


Microlearning เป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญคือการทำหน้าที่ของ HR ที่จะช่วยให้พนักงานเรียนรู้ได้ดีขึ้น ได้แก่ การช่วยกรองข้อมูลให้กับพนักงาน (Filter it) ค้นหาว่าอะไรที่ไม่ต้องเรียน อะไรที่ต้องเรียน โดยคำนึงเสมอว่าผู้เรียนแต่ละคนไม่เหมือนกัน (No one size fit all) มีความสนใจและความสามารถที่แตกต่างกัน และการใช้ข้อมูล (Use data) ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด Data มีความสำคัญอย่างมาก เป็นเสมือนเพื่อนของ HR ที่ช่วยในการตัดสินใจและดูแลพนักงานได้อย่างตรงจุด

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page