top of page
รูปภาพนักเขียนHR TECH

โต้คลื่น Disruptive

ไปกับ กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล

นาทีนี้ใครก็พูดถึง “โลกที่เปลี่ยนไป” รึแม้แต่คำว่า “โลกกำลังปั่นป่วน” เราได้ยินคำว่า Disrupt บ่อยขึ้น จากสื่อและผู้คนหลายวงการ หลายคนอาจเคยคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องใกล้ตัว จนมาถึงวันที่เรามองเห็นบางอย่างถูก Disrupt และบางคนกลายเป็น Disruptor ผู้เปลี่ยนโลก น่าจะสร้างความตระหนักให้เราตั้งรับกับยุค Disruptive World กันมากขึ้น


ภาพการเปลี่ยนแปลงนี้จะชัดขึ้นหากคุณนึกภาพกลับไปเมื่อ 2-3 ปีก่อน เทียบกับวันนี้ คุณก็จะรับรู้ได้ชัดขึ้น มีสิ่งใหม่หลายอย่างเกิดขึ้น และบางอย่างที่ล้มหายไป มอบไปรอบตัว สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือการพัฒนาของเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น เราได้เห็นมันแล้วในเวลานี้ กว้างออกไปมากกว่านั้น การเปลี่ยนโฉม Business Model ของเจ้าตลาดยักษ์ใหญ่ที่เกินความคาดคิด มองให้รอบตัวเรามากขึ้นเราเห็น รูปแบบการใช้ชีวิต รูปแบบการทำงาน Lifestyle ของผู้คนเปลี่ยนไป สังคมไร้เงินสด ธุรกรรมออนไลน์ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน การทำงานที่ไหนก็ได้บนโลกขอเพียงมี Internet ธุรกิจที่เรียกว่า Startup เริ่มเร็ว โตไว จับตลาดได้อย่างที่ทำให้ยักษ์ใหญ่ต้องผวา มันเกิดขึ้นแล้ว !!! ที่สำคัญทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นการเปลี่ยนแปลงรุนแรง


ไม่ใช่ว่าความเปลี่ยนแปลงไม่ไม่เคยเกิดขึ้นกับโลกธุรกิจ แต่ในเวลานี้การเปลี่ยนแปลงเกิดอย่างรวดเร็ว คำถามต่อมาคือในกระแสคลื่น DisruptiveWorld ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างไร


ในงาน Thailand HR DAY 2018 ที่ผ่านมา คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ผู้ก่อตั้ง Disrupt University และผู้ร่วมบริหารกองทุน 500 TukTuks หนึ่งในบุคคลที่เมื่อเราพูดถึง Startup หรือ Disruptive World จะไม่เอ่ยถึงชื่อนี้ไม่ได้เลย ได้มาพูดคุยถึงประเด็น “โลกที่เปลี่ยนแปลงไป” กับเรา พร้อมให้ข้อแนะนำและคมความคิดที่ควรนำเอาไปคิดต่อเพื่อการปรับตัวสู่การเป็นคนทำงานที่พร้อมโต้คลื่นการเปลี่ยนแปลงและนำพาองค์กรให้อยู่รอดในยุค Disruptive World


เมื่ออัตราเปลี่ยนแปลงเร่งเครื่องเต็มสูบ ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างไร

ประเด็นนี้คือ Key messages ที่คุณกระทิงสื่อสารกับเรา โลกธุรกิจปัจจุบันหลายองค์กรกำลังเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวให้อยู่รอดภายใต้คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่มีอัตราต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล สวนทางกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของคนและองค์กรที่เป็นแบบเส้นตรง โดยยกเอา The Six Ds of Exponential Technology ที่เสนอโดย Steven Kotler มาอธิบายสิ่งที่เรากำลังเผชิญร่วมกัน


The Six Ds of Exponential Technology

Steven Kotler ได้กล่าวถึง 6 stages ที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจะเข้ามามีผลกระทบกับธุรกิจ ประกอบด้วย

Stage 1 Digitized: เทคโนโลยีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ทั้งในกระบวนการภายใน รวมถึงการพัฒนาสินค้าและบริการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูล การดำเนินการด้านโลจิสติกส์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก Manual ไปสู่การเป็น Digital

Stage 2 Deceptive: ใน Stage นี้หลายธุรกิจควรระวังเป็น อย่างมาก เนื่องจากหลายบริษัทที่ผ่านช่วงของการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แล้ว มีความอุ่นใจว่าเทคโนโลยีนั้นเพียงพอต่อการอยู่รอดของธุรกิจ หรือการมองไม่เห็นถึงพิษภัยของสินค้าและบริการที่ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี กล่าวคือยังไม่เข้าใจถึงความเติบโตอย่างก้าวกระโดดของวงจรการเปลี่ยนแปลงนี้

Stage 3 Disruptive: เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ธุรกิจ ถูกคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าใส่เลยทีเดียว ซึ่งในขั้นนี้จะเป็นการที่ธุรกิจถูก “Disrupt” จากคู่แข่งที่มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการพัฒนาสินค้าและบริการที่ถูกลง ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นับว่าเป็นช่วงที่เทคโนโลยีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เติบโตแบบหักศอกขึ้นอย่างทันที

Stage 4 Dematerializing: เป็นขั้นที่สินค้าและบริการในรูปแบบเดิม ๆ ตายไปจากตลาด และถูกทดแทนด้วยสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ เช่น กล้องถ่ายรูปที่อยู่ใน Smart Phone, การเก็บเอกสารถูกแทนด้วยฐานข้อมูลบน Cloud เป็นต้น

Stage 5 Demonetization: รูปแบบการ “ทำเงิน” จะเปลี่ยนแปลงไป เป็นผลจากขั้น “Dematerializing” ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน การขายสินค้าและบริการในรูปแบบเดิม ๆ จะไม่สามารถทำเงินได้อีกต่อไป

Stage 6 Democratization: การที่สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนอย่างสมบูรณ์ จากที่เป็นสิ่ง “ไม่จำเป็น” กลายเป็นสิ่งที่ “ขาดไม่ได้” เนื่องจากสินค้าและบริการเหล่านี้ได้สร้างความสะดวกสบายและมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตนั่นเอง


The Six Ds of Exponential Technology ที่กล่าวมาน่าจะทำให้นึกภาพการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น และเมื่อหันมามองธุรกิจรอบตัวเราที่กำลังถูก Disrupt ภาพย่อมชัดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ทางเลือกของการใช้บริการ TAXI ที่ถูก บริการ Grab เข้ามาช่วงชิงตลาด


ในมุมมองของลูกค้าส่วนใหญ่หากพูดถึงการให้บริการของแท็กซี่ คงจะหนีไม่พ้น เรื่องของการ “ปฏิเสธลูกค้า” “ไม่กดมิเตอร์” หรือแม้แต่ทำให้เกิดความระแวงในเรื่อง “การลวนลาม หรือ ปล้นทรัพย์” สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กลายเป็นประเด็นที่สังคมกล่าวถึงกันอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าแท็กซี่จะไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกคันก็ตาม อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่าแท็กซี่ส่วนหนึ่งได้สร้าง Customer Experience ให้เป็นแบบนี้ และในยุคดิจิทัลที่การกระจายของข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงกลายเป็นภาพลักษณ์ของแท็กซี่ไปโดยปริยาย ในจุดนี้เองเมื่อ Grab ได้เข้ามาเปิดให้บริการ จึงสามารถเจาะฐานลูกค้าของแท็กซี่ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดย Grab ได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริการลูกค้า โดยสร้างประสบการณ์ที่ง่าย รวดเร็ว และปลอดภัย ในการให้บริการลูกค้า ซึ่งแตกต่างกับประสบการณ์ของลูกค้าส่วนใหญ่ที่ได้รับจากการใช้บริการ TAXI


อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนในโลกดิจิทัล คือ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รวมเอาโลกทั้งใบของการใช้ชีวิตไว้ใน “Smart Phone” เครื่องเดียว ซึ่งคงต้องยอมรับกันว่าเป็นมากกว่าเครื่องมือสื่อสาร มากกว่าการเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนยุคใหม่ เพราะได้ย่อโลกเกือบทั้งใบมาไว้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กนี้แล้ว ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ได้รวมเอาฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนไว้เกือบสมบูรณ์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม การเรียนออนไลน์ การทำธุรกรรมทางการเงิน กล้องถ่ายรูป ร้านค้าออนไลน์ ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด


คำถามสำคัญต่อมาจากที่เรา รู้แล้วว่า “โลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” แล้ว ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร? ประเด็นนี้คือสิ่งที่คุณกระทิงทิ้งท้ายไว้กับเรา


ธุรกิจจะโต้คลื่น Disruptive อย่างไรให้อยู่รอด

จาก Six Ds of Exponential Technology จะเห็นได้ว่า ถ้าธุรกิจต้องการจะอยู่รอดภายใต้คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล ซึ่ง คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ได้นำเสนอมุมมองของการดำเนินธุรกิจที่จะต้อง Transform ตัวเองให้เร็ว โดยสรุปไว้ 3 ประการ

มุ่งให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ความต้องการแท้จริงของลูกค้าคือข้อมูลที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธในการทำธุรกิจ เพื่อให้สามารถพยากรณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

รักษาสินทรัพย์ในองค์กรให้ยังคงมีมูลค่า ระมัดระวังอย่าให้สินทรัพย์กลายเป็น “หนี้สิน หรือ ภาระ” ขององค์กร (โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์)

ตอบรับต่อการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี การทำให้เกิด Innovation ไม่ใช่เพียงสิ่งที่พูดขึ้นมาให้ทันยุคสมัย แต่วันนี้ มาเป็นต้องทำให้ Innovation กลายเป็น DNA หลักในการดำเนินงานขององค์กร มิใช่เป็นเพียง KPI ที่ตั้งไว้เพื่อความสวยหรู

ดู 12 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page