top of page
  • รูปภาพนักเขียนKINCENTRIC

ผู้นำที่องค์กรต้องการเมื่อเกิดภาวะวิกฤต (Leadership in Crisis)

อัปเดตเมื่อ 30 ก.ค. 2564

ภาณทิพย์ วงศ์โสตถิกุล Leadership Assessment & Development, Kincentric Thailand

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์จากโรคโควิด 19 (COVID-19) ทุกองค์กรเกิดการตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนแนว

ทางการดำเนินธุรกิจให้สามารถอยู่รอดและก้าวข้ามวิกฤตดังกล่าว หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายองค์กรรอดพ้นจากวิกฤตการณ์นี้และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ คือ ความสามารถของผู้นำองค์กร (Leadership Capability) หลายองค์กรมีการนำหลักการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business

Continuity Management) และหลักการจัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management) มาร่วมในการ

บริหารองค์กร ในขณะเดียวกันองค์กรชั้นนำเริ่มมีการนำหลักการจัดการภาวะวิกฤตนี้เป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้นำหรือผู้ที่มีตำแหน่งสำคัญขององค์กร (Critical Position)

การนำหลักการจัดการภาวะวิกฤตมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคัดเลือกผู้นำนี้ หลายองค์กรได้ใช้

วิธีการจำ ลองการจัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management Simulation) โดยมีการออกแบบสถานการณ์จำลองต่าง ๆ เพื่อวัดสมรรถนะและความสามารถของผู้นำในการแก้ไขปัญหาระหว่างที่

เกิดวิกฤตการณ์


เกณฑ์การชี้วัดสมรรถนะและความสามารถของผู้นำในภาวะวิกฤต แบ่งเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่

1. การดำเนินการในภาวะวิกฤต (Actions in Crisis Management Elements)

2. ความสามารถในการนำองค์กรในภาวะวิกฤต (Leadership Competencies in Crisis)


เกณฑ์การชี้วัดสมรรถนะและความสามารถของผู้นำในภาวะวิกฤต

จากเกณฑ์การชี้วัดข้างต้นนี้ มีส่วนประกอบย่อยในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินการในภาวะวิกฤต

(Actions in Crisis Management Elements) ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ การจัดการด้านคน (People) ชื่อเสียง (Brand) กระบวนการทำงาน (Process) และเทคโนโลยี (Technology) โดยหัวใจสำคัญของการดำเนินการทั้ง 4 ปัจจัย เพื่อให้การดำเนินธุรกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุดและลดผลกระทบทางลบที่อาจสร้างความเสียหายแก่องค์กร

ด้านความสามารถในการนำองค์กรในภาวะวิกฤต (Leadership Competencies in Crisis) ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ ได้แก่ การตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ (Decisiveness in Action) ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงในความไม่ชัดเจน (Courageous Amid Uncertainty) การตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง (Tactical Agility) และการติดตามผลการดำ เนินการอย่างต่อเนื่อง (Active Engagement)


เกณฑ์การชี้วัดทั้ง 2 ประการนี้ มีส่วนช่วยให้องค์กรรับรู้ถึงความสามารถของผู้นำในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน เช่น วิกฤตการณ์จากโรคโควิด 19 (COVID-19) ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หรือเหตุการณ์อัคคีภัยรุนแรง นํ้าท่วม ภัยธรรมชาติรุนแรง เป็นต้น นอกจากนี้การเข้าร่วมสถานการณ์จำลองในการจัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management Simulation) ยังช่วยให้ผู้เข้าร่วมตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


About Kincentric Kincentric, a Spencer Stuart company, approaches human capital differently — we help you identify what drives your people so they can drive your business. Formerly a part of Aon, our decades of expertise in culture and engagement, leadership assessment and development and HR and talent advisory services enable us to help organizations change from the inside. And our global network of colleagues, our proven insights and our intuitive technologies give us new ways to help organizations unlock the power of people and teams — fostering change and accelerating success. For more information, please visit kincentric.com
ดู 2,041 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page