ที่มา: PRAKASH RAO (2021) . A KPI Driven HR Leader's Toolkit for 2021
Highlight
- COVID 19 เป็นปัจจัยเร่งให้งาน HR ต้องไปสู่การเป็น Digital HR ให้เร็วขึ้น
- บทบาทสำคัญของ HR ยังคงมุ่ง เป็นที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ให้กับองค์กร ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการสร้างและรักษา high-performing culture
- Upskill และ Reskill เป็น Agenda สำคัญที่ HR ไม่อาจละเลยได้ และต้องใช้ Technology เข้ามาช่วยให้สามารถทำได้เร็วขึ้นทันกับการแข่งขันของภาคธุรกิจ
- องค์กรหลายแห่งให้ความสนใจกับ Well- Being และ การส่งมอบ Employee Experience ให้กับพนักงานมากขึ้น
PRAKASH RAOปัจจุบันอยู่ในตำแหน่ง Chief Operating Officer – SaaSที่ PeopleStrong เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้าน HR Tech และ Digital Transformation รวมถึง Digital HR transformation เขามีประสบการณ์อันยาวนานกว่า 16 ปี เคยร่วมงานกับองค์กรชั้นนำในเอเชีย อาทิ Mphasis ในแผนก BPO ทั้งยังเป็นวิทยากรให้กับเวทีสัมมนาระดับประเทศและระดับนานาชาติให้ความรู้เกี่ยวกับ HR และ HR Tech รวมถึง AI inHR, Recruitment และ HR analytics สำหรับการร่วมงานกับ PeopleStrong เขารับบทบาทขับเคลื่อนทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน HR และ HR Tech เพื่อมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมและตอบสนองความมุ่งมั่นของ PeopleStrong ในการนำเสนอ #NewCodeofWork ให้กับลูกค้า นอกจากนี้เขายังมีงานเขียนบทความที่ถูกนำไปอ้างอิงในสื่อด้าน HR และด้านธุรกิจ อีกมากมาย
A KPI Driven HR Leader's Toolkit for 2021 เป็นหนึ่งในงานเขียน ที่ให้สารประโยชน์ต่อ HR Leader โดย PRAKASH RAO ฉายภาพ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ องค์กร และฝ่าย HR ในปี 2020 ซึ่งเขาให้นิยามว่าเป็น The Year of Disruptions จากนั้น นำเสนอ สิ่งสำคัญ 5 อันดับแรกที่ HR Leaders ควรทำในปี 2021 และให้ทัศนะ ถึง 5 กลยุทธ์ในการกำหนด HR Agenda ในปี 2021 ปิดท้ายด้วยการนำเสนอ แนวทางในการเลือก HR Tech Solutions ที่เหมาะกับสถานการณ์ปี 2021
ธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม อยู่ในสถานการณ์ที่ กำลัง reboot และ restart การดำเนินธุรกิจ ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของ COVID19 ในฐานะ HR leaders ซึ่งผู้บริหารคาดหวัง ให้แสดงบทบาทเป็นที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ ย่อมต้องทบทวนลำดับความสำคัญของงาน หากพิจารณาตามผลสำรวจพบว่า 10 อันดับความสำคัญของงาน HR ในปี 2021 ตามทัศนะของ HR Leader มีดังนี้
74% ให้ความสำคัญกับการสร้างและ/หรือรักษา high-performing culture
74% ให้ความสำคัญกับการทำให้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กรเกิดขึ้น
70% ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสมรรถนะในการจัด Talent
69% ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสมรรถนะในการวิเคราะห์การสร้างแบบจำลองและการรายงานด้านทรัพยากรบุคคล
66% ให้ความสำคัญกับการปรับ workforce strategy ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ
64% ให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนขององค์กรและการปรับปรุงประสิทธิภาพ
54% ให้ความสำคัญกับการเพิ่มความหลากหลายของพนักงาน ส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกัน
48% ให้ความสำคัญกับการแสดงบทบาท strategic advisor (ที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์) ให้กับธุรกิจ
44% ให้ความสำคัญกับความสามารถในการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจ
46% ให้ความสำคัญกับปรับปรุงความคล่องตัวของ HR
2020: The Year of Disruptions
ย้อนกลับไปพิจารณาสถานการณ์ในปี 2020 ปี ที่เรียกได้ว่าเป็น The Year of Disruptions แม้ว่าในทศวรรษที่ผ่านมามีการให้นำ HR software tools มาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตามในปี 2020 เป็นปีที่พบว่า มีการนำ Technology มาใช้ในงาน HR อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อาจกล่าวได้ว่า COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งการเปลี่ยนแปลง จากสถานการณ์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ HR ต้องเปลี่ยนแปลงการทำงาน ด้วยวิธีต่อไปนี้ เพื่อเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สุดสำหรับการอยู่รอดขององค์กร
Worker Wellbeing ถูกพูดถึงในวงกว้าง แนวคิดที่ว่า Future of Work คือ Future of Worker Wellbeing ก้าวไปสู่การนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง องค์กรส่งเสริมการปฏิบัติงานตามเวลาทำงาน ไม่เน้นการทำงานเกินเวลา ทั้งยังส่งเสริมในพนักงานการออกกำลังกายเพื่อความสมดุลทางร่างกายและจิตใจ ยังพบว่าองค์กรส่วนใหญ่สื่อสารเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงานพร้อมกับนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อตรวจสอบอารมณ์และสุขภาพของพนักงานอีกด้วย
Virtual Teams ถูกพัฒนาให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดบังคับให้ HR ต้องพัฒนา โครงสร้างองค์กรใหม่และต้องมี virtual HR strategies รวมทั้งการทำงานของแผนกไอที และ HR ต้องเป็นไปอย่างสนับสนุนกัน เพื่อทำแน่ใจว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลไม่มีข้อจำกัด และมีความปลอดภัย
การทำงานร่วมกันได้ดีถือเป็น ทรัพย์สินที่มีค่ายิ่ง องค์กรต้องมุ่งแก้ไขคำจำกัดความของการทำงานร่วมกัน การสนทนาตามบริบท (Contextual conversations)การจัดการงาน (task management)การแชร์ไฟล์และการรักษาความปลอดภัยร่วมกัน กลายเป็นคำจำกัดความใหม่ของการทำงานร่วมกัน
Digital Transformation เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2020 ทำให้เกิดแรงจูงใจต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้มากยิ่งขึ้น หลายองค์กรเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ SaaS เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น จากการสำรวจโดย PwC ระบุว่า 72% ของ HR leaders ได้รวม HR Application เข้ากับระบบคลาวด์แล้ว และบางส่วนอยู่ในระหว่างดำเนินการ
แนวคิด Outcomes Over Efforts ถูกนำมาใช้ การทำงานในรูปแบบ WFH ทำให้องค์กรเปลี่ยนแนวคิด หันมาให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ (Outcomes) มาตรฐานใหม่ของการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของพนักงาน จึงมุ่งเน้นไปที่การพิจารณาผลงานและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
2021: Top 5 Priorities for HR Leaders
การแพร่ระบาดของ COVID 19 ที่ขยายวงกว้าง ทำให้องค์กรต่างๆต้องพิจารณาลำดับความสำคัญใหม่และมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์มากขึ้นกว่าเดิม HR ถูกบังคับให้ปรับ KPI ใหม่ท่ามกลางการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมขององค์กรเพื่อสะท้อนถึงลำดับความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไป จากรายงานของ Gartner พบว่า HR Trends & Priorities มีดังนี้
68% ของ HR Leaders ระบุว่า “การสร้างทักษะและสมรรถนะที่สำคัญสำหรับองค์กร” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และพบว่า พนักงานต้องการทักษะที่เพิ่มขึ้นสำหรับทุกงานและทักษะเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นสิ่งใหม่
46% ของ HR Leaders เชื่อว่าการออกแบบองค์กรและการจัดการการเปลี่ยนแปลงจะมีความสำคัญต่อ Top Business Priorities จากเดิมองค์กรมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพทำให้หลายองค์กรมีโครงสร้างที่เข้มงวดมีขั้นตอนการทำงาน และการออกแบบบทบาทของพนักงานไม่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและไม่ยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองปัจจัยรอบด้านที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
44% ของ HR Leaders สรุปว่าความแข็งแกร่งที่แท้จริง ในปัจจุบันและอนาคตคือความสามารถ ในการรับมือกับสถานการณ์ที่มีความผันผวนสูง
32% ของ HR Leaders ให้ความสำคัญกับ future of work และพวกเขาสังเกตว่าแนวโน้มเกี่ยวกับ future of work รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายและแผนยุทธศาสตร์เริ่มดำเนินการมาก่อนการระบาดของ COVID 19
31% ของ CHRO หันเหความสนใจไปที่ employee experience ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงไปสู่ รูปแบบการทำงานระยะไกล (remote work) และรูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน (hybrid workforce) HR Leaders ต้องรักษาวัฒนธรรมขององค์กร และดูแลให้ประสบการณ์ของพนักงานสอดคล้องกับความคาดหวังและความต้องการของพนักงาน
5 Strategies to Set The HR Agenda In 2021
เมื่อ HR Teams ต้องเตรียม Agenda สำหรับปี 2021 ต่อไปนี้คือ 5 กลยุทธ์ที่จะช่วยให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงและบรรลุ KPI ได้เป็นอย่างดี
กลยุทธ์ที่ 1 เร่งให้เกิด Digital Transformation และกำหนดกลยุทธ์ด้านดิจิทัล
การทำงานจากระยะไกลหรือการทำงานในรูปแบบ Hybrid ถือเป็น " new normal " การนำเทคโนโลยีด้าน HR มาใช้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสำเร็จ ธุรกิจสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากทักษะของผู้คน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานที่มีส่วนร่วมสูงได้ด้วย digital transformation และ adoption
กลยุทธ์ที่ 2 ทำให้ People Performance ใกล้ชิดกับ Business Performance
บริษัท ส่วนใหญ่ล้มเหลวในการปรับประสิทธิภาพของบุคลากรให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ อาจมีสาเหตุหลายประการรวมถึงกลยุทธ์ที่ซับซ้อน รวมถึงการดำเนินการที่ล่าช้าหรือแม้แต่วัฒนธรรมที่ไม่ยืดหยุ่น OKRs เข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยเชื่อมโยงกับ Key KPIs (ซึ่งมุ่งเน้นOutcomes) และ Action Plans (ที่มุ่งเน้น Efforts) หากประสานกันได้ดีก็มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ คำถามต่อมาคือ แล้วจะใช้ประโยชน์จาก OKRs ได้อย่างไร?
จากการพิจารณาตามหลักการของ OKRs และการนำไปใช้ขององค์กรต่างๆพบว่า การกำหนด Key Results เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ องค์กรควรกำหนดและปรับแต่งวัตถุประสงค์ที่สำคัญบางประการทุกไตรมาส โดยยึดหลักให้วัตถุประสงค์สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญที่องค์กรตั้งไว้
OKRs ยังช่วยให้เกิดการทบทวนธุรกิจ โดยช่วยให้เกิดการดำเนินการตรวจสอบธุรกิจรายเดือนและรายไตรมาสโดยใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา ทั้งนี้โปรดจำไว้ว่าการดำเนินธุรกิจโดยปราศจากข้อมูลเป็นสิ่งที่อันตราย
OKRs เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารจัดการเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ และยัง นำมาสู่การชี้แจงสิ่งความคาดหวังจากทีมและร่างแผนงานการดำเนินการ ซึ่งจะบรรลุแนวทางและวิธีการว่าผู้ปฏิบัติงานจะเป้าหมายได้อย่างไร
กลยุทธ์ที่ 3 ให้ความสำคัญกับ Employee Experience
ก่อนจะมีการแพร่ระบาดของ COVID 19 ความสนใจในเรื่อง employee experience เป็นสิ่งที่หลายองค์กรจัดลำดับความสำคัญไว้เป็นเรื่องรอง แต่ในปี 2020 กลายเป็นเรื่องเร่งด่วนมากขึ้น พบว่า องค์กรที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของพนักงาน สามารถป้องกันตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพจากความรุนแรงของการแพร่ระบาด ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อยกระดับ employee experience ในองค์กรของคุณ
Flexible Working Is Here to Stay: “Anywhere-plus-office hybrid model” ถูกนำมาใช้มากขึ้น การทำงานนอกสำนักงานกลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติต่อเนื่องแม้ในสถานการณ์ที่ไม่มีความเสี่ยงจากการระบาดของ COVID 19
Leverage HR Tech to maintain Culture: ใช้ประโยชน์จาก HR Tech เพื่อรักษาวัฒนธรรม ปัจจุบันเราพบว่า Chatbot ถูกพัฒนาให้ชาญฉลาดและตอบสนองการทำงานเฉพาะได้ดี สามารถตอบคำถามได้ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น ยังพบว่า HR Tech เข้าไปเกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าจ้างค่าตอบแทน ที่ปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป สามารถตอบสนองการจ่ายค่าตอบแทนของพนักงานที่ไม่ได้ทำงานในสำนักงาน ซึ่งมีผลดีต่อการตอบสนอง digital workplace ที่มีแนวโน้มจะพัฒนาไปอีกไกล
Develop A Culture of Trust: วัฒนธรรมแห่งความเชื่อใจ เป็นสิ่งสำคัญเมื่อการทำงานรูปแบบเดิมเปลี่ยนไป รูปแบบการทำงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2020 เช่น WFH , Remote Work หรือ Work form Anywhere แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการจัดการอย่างเหมาะสมและด้วยช่องทางการสื่อสารที่สนับสนุนให้พนักงานสามารถทำงานที่ใดก็ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานยังคงมีความขยันขันแข็งและมีความรับผิดชอบเหมือนกับการทำงานในสำนักงาน อย่างไรก็ตามมีสิ่งที่องค์กรและ HR ต้องให้ความสำคัญคือ พนักงานอาจอยู่ในภาวะที่มีความเหงาและรู้สึกความโดดเดี่ยวซึ่งต้องจัดการเป็นกรณี ๆ ไป
กลยุทธ์ที่ 4 สร้างความแข็งแกร่งด้วยการสรรหาที่เหมาะสม
วิธีที่องค์กรในปัจจุบันใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการตลาดดิจิทัลเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้สมัครในเวลาที่เหมาะสม คือการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มในการสรรหาบุคลากร ฝ่าย HR สามารถตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีการสรรหาบุคลากรของคุณพร้อมใช้งานในปี 2021 จากข้อบ่งชี้ต่อไปนี้
• ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ช่วยให้รอบการรับสมัครสั้นลงและสามารถอัปเดตแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาบุคลากรผ่านซอฟต์แวร์ เช่น ATS (Application Tracking System)
• การจัดหาหลายช่องทางแบบบูรณาการเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้มีความสามารถที่กระจายอยู่ในฐานข้อมูลเครือข่ายโซเชียลที่มีความหลากหลาย
• รองรับการจัดหางานที่มุ่งเน้นเฉพาะตำแหน่งงาน หรือ คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร เพื่อให้แน่ใจว่าการจ้างงานทุกครั้งได้คนที่เหมาะสมที่สุด
• ช่วยส่งเสริมผล productivity ขององค์กรสูงขึ้นและสามารถรักษาพนักงาน (retention) ได้ดียิ่งขึ้น
• สนับสนุน Omnichannel สำหรับการจ้างงานทุกประเภทอย่าง ให้เกิดความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในระดับสูง
• สามารถนำไปสู่โครงสร้างและลำดับชั้นขององค์กรในอนาคตผ่านการ strategic workforce planning และ talent pipelining ได้
นอกจากนี้ยังพบว่า องค์กรการใช้เทคโนโลยี ML และ AI ในงานด้านทรัพยากรมนุษย์และเพื่อการสรรหาบุคลากร เพื่อช่วยขจัดอคติของมนุษย์ที่มีต่อกระบวนการสรรหาบุคลากรหรือการบริหารทรัพยากรบุคคล ดังนั้นฝ่าย HR สามารถใช้ AI / ML เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ อาทิ การเลือกโปรไฟล์ผู้สมัคร ใช้เป็นระบบอัตโนมัติและใช้เพื่อการวิเคราะห์รอบการสรรหาบุคลากร ใช้เพื่อการติดตามและประเมินการสรรหาบุคลากร ใช้สำหรับปรับปรุงประสบการณ์ของผู้สมัคร (และพนักงานรุ่นหลัง) รวมถึงตรวจหาสาเหตุการลดลงของพนักงาน ได้อีกด้วย
กลยุทธ์ที่ 5 มุ่งเน้นไปที่ Re-skilling Workers
ปี 2021 องค์กรต่างๆให้ความสำคัญกับความโปร่งใส ความคล่องตัว วัฒนธรรม และความเป็นผู้นำในรูปแบบ purpose-driven leadership ตามรายงานล่าสุดของภาคอุตสาหกรรมพบว่า 54% ของพนักงานทั่วโลกจะต้องมี reskilling and upskilling ภายในปี 2022 เหตุผลสำคัญบางประการที่องค์กรไม่ควรเพิกเฉยต่อความจำเป็นในการ reskill พนักงาน ประกอบด้วย
• เทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของเรา: Disruptive technologies เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Data Analytics กำลังพลิกโฉมการทำธุรกิจและสร้างมาตรฐานใหม่ในการให้บริการลูกค้า
• องค์กรต่างๆจะก้าวไปสู่วัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล(data-driven culture) : ปี 2021 ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าการบูรณาการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลมีผลอย่างยิ่งกับการกำหนด กลยุทธ์ทางธุรกิจ
• Learning Management Systems (LMS) : เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในฐานะ สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการจัดการเรียนรู้ตามความต้องการ (on-demand learning) และเข้ามาสนับสนุนการเกิดขึ้นของห้องเรียนและการฝึกอบรมออนไลน์
Ready to Choose the Right HR Tech Solutions in 2021?
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการเพิ่มคุณค่าให้งาน HR เมื่อความท้าทายของงาน HR มีมากขึ้นจากอดีต และ ทรัพยากรมนุษย์เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร การเลือกใช้ HR Tech Solutions จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เบื้องต้น PRAKASH RAO ได้ให้คำแนะนำสำหรับการเลือกใช้ HR Tech Solutions ที่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กร โดยให้ข้อคิดว่า HR Tech Solutions เป็นการลงทุนระยะยาวที่สามารถกล่าวได้ว่ามีผลต่อการทำให้ ROI สูงขึ้น ดังนั้นหากคุณเลือกใช้ HR Tech Solutions โปรดพิจารณาคุณลักษณะบางประการและมีสิ่งที่ควรระวังดังนี้
HR Features ในขณะที่ digital transformation และการนำ HR Tech มาใช้เป็นสิ่งสำคัญ การดำเนินการควรเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทางเทคนิคอย่างละเอียดเพื่อเปรียบเทียบ คุณสมบัติ ของbasic/primary functions และ "nice-to-have"
สามารถทำงานผสานได้กับระบบ Cloud เทคโนโลยี Cloud เป็น long-term solution ดังนั้นควรเลือกเทคโนโลยีที่พิสูจน์ได้ว่าในอนาคตจะให้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว
มีการบริการลูกค้าที่ดี เช่นเดียวกับทุก digital solution การบริการลูกค้ามีความสำคัญในการกำหนดประสบการณ์โดยรวมของคุณ ตั้งแต่การเริ่มต้นใช้งานไปจนถึงการให้บริการหลังการขาย ดังนั้นควรเลือกใช้บริการที่มีนโยบายเกี่ยวกับการบริการหลังการขายที่มีมาตรฐาน
รองรับความสามารถในการปรับขนาด ไม่ว่าคุณจะวางแผนที่จะขยายหรือลดจำนวนพนักงาน HR tech solution ก็ควรปรับขนาดได้เช่นกัน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
มีความปลอดภัย การจัดการข้อมูลพนักงานเป็นความลับและต้องการระบบจัดเก็บ การถ่ายโอนข้อมูลที่ปลอดภัย ดังนั้นจำเป็นต้องลงทุนให้เกิดมาตรการ เช่น การเข้ารหัสเพื่อปกป้องข้อมูล
สามารถชี้ให้เห็นถึง Product Roadmap คุณไม่สามารถคาดหวังการเปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืนภายในองค์กรของคุณ และนอกเหนือจากการดำเนินการตามขั้นตอนแล้วคุณยังต้องมีแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้โดยจัดเรียงตามลำดับความสำคัญ ในแง่นี้ Product Roadmap จะมีประโยชน์มากในการอธิบายรายละเอียดการของการปฏิบัติงาน
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและความผันผวนของสถานการณ์ในช่วงปี 2020 ต่อมาถึงปี 2021 ทำให้การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบกับความท้าทายหลายประการ เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานของฝ่าย HR ตอบสนองการให้บริการพนักงาน และตอบสนองเป้าหมายขององค์กร ได้ดียิ่งขึ้น การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์นี้ยังนำมาซึ่งศักยภาพที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย ดังนั้นเมื่อคุณพิจารณาที่จะใช้ HR Tech ในงาน HR ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้านเพื่อให้ได้บริการที่ตอบสนองความต้องการของฝ่าย HR พนักงานและองค์กรมากที่สุด
หากคุณพบว่าบทความนี้มีประโยชน์ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือ รับคำปรึกษาเกี่ยวกับการ HR Tech การออกแบบFuture of Work และกำลังมองหาเครื่องมือที่จะทำให้งาน HR เปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็น Digital HR สามารถ ขอรับคำปรึกษา จาก Peoplestrong ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับ HR Tech ได้ที่ https://www.peoplestrong.com/th
Comentarios