top of page

การย้ายงานครั้งใหญ่

The Great Reshuffle - เราจะรับมือกันอย่างไร? | คุณภคภัค สังขะสุนทร

ช่วงปี 2021 กระแสของคำว่า “The Great Resignation” หรือ “การลาออกครั้งใหญ่” กลายมาเป็นหัวข้อสำคัญในการพูดคุยกันในแวดวงนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ สืบเนื่องจากตัวเลขการลาออกที่กระทรวงสถิติแรงงาน (U.S. Bureau of Labor Statistics :BLS) ของสหรัฐอเมริกาได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขจำนวน turn over ของเดือนพฤศจิกายนปี 2011 ว่ามีจำนวนมากถึง 4.5 ล้านคน ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความประหลาดใจให้กับสังคมการทำงานเป็นอย่างมาก และแน่นอนว่าทุกคนต่างพยายามหาสาเหตุว่ามันมีแรงกระตุ้น หรือแรงขับเคลื่อนจากอะไร หนึ่งในนั้นคือตัวการอย่างโรคระบาดที่อยู่กับโลกมายาวนานกว่าสองปีเต็ม ๆ หรือ Covid-19 ที่ยังคงกลายพันธุ์เรื่อย ๆ นั่นเอง


อย่างไรก็ตาม Guy Berger ตำแหน่ง Principal of Economist จากบริษัท LinkedIn ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นใน Twitter ว่า เค้าไม่เชื่อว่าการใช้คำว่า “ลาออก” นั้นถูกต้องเสียทีเดียว โดยสิ่งที่ Berger แสดงให้เห็นคือ จำนวนตัวเลขของการจ้างงาน (Hiring) ที่สูงเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับที่ผ่านมา

รูปกราฟแสดงตัวเลขอัตราการจ้างงานในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2019-2021 (ข้อมูลจาก BLS)


สิ่งที่ Berger พยายามชี้ให้ทุกคนเห็นคือ ในระหว่างเกิดการ lock down นั้น คนไม่ได้ออกจากงาน (ทั้งออกโดยสมัครใจ หรือโดนให้ออกจากงาน) เพียงอย่างเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีอัตราการจ้างงานที่สูงขึ้นตามไปด้วย นั่นหมายความว่าคนกำลัง “ย้ายงาน” (Reshuffle) มากกว่าแค่จะระบุว่าคนว่างงานเพียงอย่างเดียว


สิ่งที่สะท้อนจากคำว่า Reshuffle นั้นค่อนข้างมีความสำคัญในฐานหลักคิดของ HR ในการดูแลพนักงานทีเดียว เนื่องจากการ “ย้ายงาน” นั้นเป็นปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ นั่นหมายความว่ากระบวนการ retention หรือการรักษาพนักงานเอาไว้จะกลายเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมา เนื่องจากทุกองค์กรกำลังจะสภาวะการแข่งขันดึง workforces ออกไปจากที่ทำงานเดิมมากขึ้น


ศาสตราจารย์ Anthony Klotz จากมหาวิทยาลัย Texas A&M University ผู้ใช้คำว่า “The Great Resignation” เป็นคนแรก ๆ เองก็เคยกล่าวเอาไว้ว่า การออกจากงานไม่ได้หมายถึงลาออกไปอยู่บ้านเฉย ๆ แต่หมายถึงการเปลี่ยน หรือย้ายงานไปทำที่ใหม่


ดังนั้นเมื่อพิจารณาจาก fact and data ที่มีทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่องค์กรจะต้องลุกขึ้นมาเล่นตอนนื้คือ “retention game” หรือแผนการรับมือการลาออก แน่นอนว่าช่วงการ work from home นั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่พนักงานได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น ได้มีโอกาสทบทวนการทำงานที่ผ่านมา หรือแม้กระทั่งสามารถหาข้อมูลข่าวสารการสมัครงานได้กว้างขวางและสะดวกมากขึ้น จึงอยากเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้พนักงานหลายคนตัดสินใจลาออกในช่วงดังกล่าว (ไม่ต้องเผชิญหน้ากับเจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงาน) ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว นับว่าเป็นอะไรที่สะดวก และกระอักกระอ่วนใจน้อยกว่าการลาออกแบบปกติ


ในช่วงที่เกิดกระแส The Great Resignation หรือ Reshuffle นั้น เว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Glassdoor ที่ให้บริการประกาศรับสมัครงาน และเสริมความแตกต่างด้วยการที่ให้พนักงานปัจจุบัน หรืออดีตพนักงานขององค์กรนั้น ๆ ได้สามารถ review หรือให้ดาว กับองค์กรของตัวเองได้ด้วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้สมัคร Glassdoor ได้จัดอันดับ The Best Place to Work 2022 ขึ้น โดยใช้การคำนวนจากข้อมูลในระบบของ Glassdoor ที่มาจากการ review ทั้งแง่บวกและลบออกมาจนได้ 10 อันดับแรกจาก 100 องค์กรดังนี้

1. Nvidia 2. HubSpot

3. Bain & Company 4. eXp Realty

5. Box 6. Boston Consulting Group

7. Google 8. Veterans United Home Loans

9. Lululemon 10. Salesforce


ข้อมูลที่น่าสนใจของ Glassdoor คือ Tech Companies กลายมาเป็นบริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดกว่าครึ่งใน Top 10 และ 7 องค์กรที่เคยติด 10 อันดับแรกจากปี 2021 ปีนี้ก็ยังคงติด 10 อันดับแรกอยู่ โดยเฉพาะ Nvidia ที่เป็นอันดับที่หนึ่ง


Glassdoor ได้วิเคราะห์ต่อไปอีกว่า ปัจจัยที่องค์กรรักษาคนเอาไว้ได้นั้น อาจเป็นเพราะการสร้างประสบการณ์ในการทำงานที่ดี (employee experience) ไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องของรายได้ แต่หมายรวมถึงการบริหารเวลา (work-life balance) และการให้อิสระในการทำงาน (autonomy) เพราะ Tech Companies ส่วนใหญ่นั้นรับมือกับ remote work ได้ดีกว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่ใช้วิธีการบริหารงานแบบดั้งเดิม หรือ office-centric ดังนั้นในระหว่างเกิดกระแสการย้ายงานครั้งใหญ่ บริษัทเล็ก ๆ บางบริษัทที่สามารถมอบประสบการ์ในการทำงานที่ดีกว่าได้ จึงสามารถดึงตัวพนักงานออกจากองค์กรขนาดใหญ่ได้มากขึ้นนั่นเอง


โดยสรุปแล้ว กระแสของการย้ายงานจะยังคงมีต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งสังคมการทำงานได้รับการปรับปรุงไปสู่ new way of work แบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็น fully remote หรือ hybrid work model ก็ตาม และพนักงานก็จะหันมาสนใจเรื่องของ working process มากขึ้น เช่น life-style ตัวเอง กับการทำงานขององค์กรเหมาะกันหรือไม่? ความเร็วในการทำงานของแต่ละธุรกิจเหมาะกับตัวเองหรือไม่ เป็นต้น HR ควรจะต้องใช้เวลานี้ในการเตรียมข้อมูลเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวล่วงหน้า อย่างน้อยหากห้ามกระแสการลาออกไม่ได้ ก็ควรจะต้องเก็บคนที่เป็น talent กับองค์กรเอาไว้ให้ได้นั่นเอง

Toprising@gmail.com


อ้างอิง

Is it time to retire the term “Great Resignation”? (morningbrew.com)

Best Places to Work | Glassdoor

Job Openings and Labor Turnover Summary - 2021 M11 Results (bls.gov)

Guy Berger on Twitter: "🧵 Great Reshuffle Update 🧵 Today's @BLS_gov JOLTS data shows turnover remained abnormally elevated through November - the labor market was still behaving as if it is much tighter than indicated by traditional measures of labor market slack (unemployment rate, etc). 1/2 https://t.co/dF1VVkonoa" / Twitter

ดู 111 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page