top of page
  • รูปภาพนักเขียนKHON

การพัฒนาเครื่องมือการวินิจฉัยองค์การนวัตกรรม

นายชุมพล เสือเทศ - นศ.ปริญญาโทหลักสูตร LMI

รศ.ดร.จิรประภา อัครบวร - อาจารย์ประจำคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นิด้า

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการวินิจฉัยองค์การนวัตกรรม (Innovative Organization Diagnosis Tool) ในประเทศไทยให้มีการบริหารที่สอดคล้องกันภายในองค์การ การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการทบทวนวรรณกรรม และการพิจารณาความเที่ยงตรงของข้อมูล (IOC: Index of Item-Objective Congruence) โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในงานพัฒนาองค์การ และการพัฒนานวัตกรรม 7 คน เพื่อพิจารณาถึงความถูกต้องด้านเนื้อหาและความเข้าใจของข้อคำถามในแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นให้มีความสอดคล้องของเนื้อหากับประเด็นที่ศึกษา


ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยองค์การนวัตกรรมในแบบจำลองเก้าช่อง (Nine Cells) จากงานวิจัยการวินิจฉัยองค์การเพื่อการพัฒนาภาครัฐ (จิรประภา อัครบวร และคณะ, 2558) เพื่อพิจารณาความสอดคล้อง (alignment) ของระดับการพัฒนา และประสิทธิภาพในการพัฒนา

(1) ระดับของประสิทธิภาพ (Levels of Performance) ได้แก่ ระดับองค์การ (Organization) ระดับหน่วยงาน (Team or Department) และระดับบุคคล (Individual)


(2) ด้านมิติของประสิทธิภาพ (Performance Dimensions) ได้แก่ มิติด้านเป้าหมาย (Goal) มิติด้านการออกแบบ (Design) และมิติด้านการจัดการ (Management) ตามแนวความคิดของ Rummler และ Brache (1995)

นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การนวัตกรรมของต่างประเทศอีกจำนวนมาก (Zaltman, Duncan, & Holbek, 1973; Rogers, 1983; Tushman, & Nadler, 1986; Behn, 1995; Tucker, 2002; Lam, 2006; Benaim, 2015; Bouhali, Mekdad, Lebsir, & Ferkha, 2015; Demircioglu, 2016; Ikeda & Marshall, 2016; Dogan, 2017; Jenjarrussakul, 2017; Ishak, 2017) รวมถึงงานวิจัยในประเทศไทย (วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา, 2554; กีรติ ยศยิ่งยง, 2552; พยัต วุฒิรงค์, 2552; สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ, 2553; ศศิประภา ชัยประสิทธิ์, 2553; อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล, 2560; ฐิติมา พูลเพชร, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และจันทนา แสนสุข; 2560) นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์การบริหารจัดการด้านนวัตกรรมระดับประเทศ และระดับสากลมาเป็นกรอบในการพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยนี้

· เครื่องมือการวินิจฉัยองค์การเก้าตัวแปร (Nine Variables) ของ Rummler, G. A. และ Brache, A. P. (1995)

· การจัดการนวัตกรรมทั้งองค์การ (Total Innovation Management) ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช., 2555)

· เกณฑ์การประเมินรางวัลคุณภาพ สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award, 2561, 2563)

· ระบบคุณภาพการบริหารจัดการนวัตกรรม มาตรฐาน CEN/TS 16555-1:2013 และ มาตรฐาน ISO/TR 56000 Series (ISO/TR 56004:2019)

ผลจากการทบทวนวรรณกรรมถูกนำมาใช้ในการพัฒนาข้อคำถามตามกรอบ Nine Cells เพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 ท่านพิจารณาความเที่ยงตรงของเนื้อหา โดยผลการศึกษาแสดงว่าเนื้อหาส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องไปในทางเดียวกัน โดยมีค่า IOC เฉลี่ย 0.76 (Turner & Carlson, 2003) หมายความว่าเห็นด้วยกับข้อคำถาม อย่างไรก็ตามมีหลายส่วนที่มีมุมมองใหม่ ๆ เพิ่มเติมและมีข้อแนะนำสำหรับการปรับปรุงข้อคำถามในบางส่วน

การทดสอบความถูกต้องของเนื้อหาของผู้ทรงคุ
.
Download • 2.45MB

ดู 796 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page